จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ โดยเฉพาะ ((( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา )))
ReadyPlanet.com
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

                                                

ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์อีเอ็ม) สำหรับบำบัดน้ำเสียย่อยสลายของเสียและดับกลิ่นเน่าเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อเกรอะ ในห้องน้ำ ย่อยสลายไขมันและน้ำมันในโรงอาหาร ตลาดสด ร้านอาหารทั่วๆไป

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียหรือจุลินทรีย์อีเอ็มนั่นเอง แต่เป็นแบบมีกลิ่นหอม สังเคราะห์จากหัวเชื้อจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่หมักจากพืชผักหรือเปลือกส้มเปลือกสัปรด มีความเข้มข้นสูงและไม่เก่าเก็บ ใช้งานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที สามารถใช้งานร่วมกับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดีทั้งในสภาวะไร้อากาศออกซิเจนและมีอากาศออกซิเจน  ซึ่งจะแตกต่างจากจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ถ้าไม่มีออกซิเจนเพียงพอในน้ำเสียนั้นๆ จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ก็ไม่สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้

กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียหรือการบำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วๆไปที่การบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้ว โลกใบนี้ของเสียและน้ำเสียต่างๆคงล้นโลกไปนานแล้ว การย่อยสลายของเสียต่างๆของจุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสภาวะแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าบรรดาของเสียทุกๆอย่างในโลกใบนี้ ซึ่งรวมถึงน้ำเสียด้วย ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและบำบัดทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทำหน้าที่หรือทดแทนจุลินทรีย์ในการย่อยสลายได้ในปัจจุบัน  กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนเป็นหลักและไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีหลากหลายกลุ่มหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกันกระจัดกระจายอยู่ในธรรมชาติ ( ไม่ได้รวมกลุ่มกัน )ในการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนี้จึงต้องออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมเป็นที่ต้องการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ถ้าสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัดน้ำเสียไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ระบบบำบัดน้ำเสียนั้นก็จะมีปัญหาวิกฤติน้ำเสียทันที น้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถบำบัดได้สมบูรณ์เนื่องจากขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายหรือมีปริมาณจุลินทรีย์น้อยกว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะใช้วิธีใดในการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้น้ำเสียในบ่อบำบัดได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป

ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้นต้องอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเป็นหลัก ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ไม่ว่าจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์ของการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นมาก็คือ ต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมาใช้งานในบ่อบำบัดเพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆนั่นเอง ของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียมีทั้งสารอินทรีย์และสารอินินทรีย์ และสารที่เป็นของเสียทั้งหมดในน้ำเสียนั้นๆก็จะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเหล่านี้มีหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่่อยสลายและชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ซึ่งล้วนมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งคู่ ถ้าปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายมีมากกว่าปริมาณของเสียและน้ำเสีย การย่อยสลายก็เกิดขึ้นได้สมบูรณ์ บรรดาของเสียและน้ำเสียก็จะถูกย่อยสลายกลายไปเป็น  CO2 + น้ำ + พลังงาน + อื่นๆ  นี้เป็นสมการจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งจะส่งผลให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆลดลง ทั้งค่า BOD , COD , TDS , SS และอื่นๆ ในขณะที่ค่า  DO เพิ่มขึ้น ( น้ำเสียค่า DO <  3 ppm.  ส่วนน้ำดีค่า DO 5-8 ppm. ) การเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำเสียตลอดเวลาเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมันจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆ

การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. -

1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ )

จุลินทรีย์แบบใช้อากาศและจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ ( Aerobic bacteria  และ Anaerobic bacteria ) ในระบบบำบัดน้ำเสียคืออะไร? 

จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหมือนกัน ตัวเดียวกัน ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่มีประโยชน์ กลุ่มที่มีโทษ และกลุ่มที่เป็นกลาง ซึ่งกลุ่มที่เป็นกลางนี้เข้ากับกลุ่มใดก็ได้ทั้งหมด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียและบ่อเกรอะเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายกลุ่มนี้มีทั้งประเภทที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาเป็นหลัก และกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic bacteria  และ Anaerobic bacteria ) 

1 ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาเป็นหลัก ( Aerobic bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ต้องมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำ ( น้ำเสีย ) เท่านั้นจึงจะทำงานย่อยสลายของเสียได้ ถ้าปราศจากออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็ไม่สามารถทำการย่อยสลายของเสียได้ นี่คือที่มาของการเติมอากาศลงไปในน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักให้สามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้นั่นเอง กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมีอยู่ในธรรมชาติแทบทุกหนทุกแห่งที่มีอากาศออกซิเจน

2 ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( Anaerobic bacteria ) หนึ่งในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียคือ กลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มหรือ EM นั่นเอง ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อีกลุ่มหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์รวมกันอยู่ในที่เดียวกัน ควบคุมดูแลง่าย สามารถใช้ได้ทั้งในสภาวะที่ไร้อากาศและในสภาวะที่มีอากาศ และสามารถทำงานได้ดีในทางคู่ขนานกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ไม่ส่งผลเสียใดๆต่อระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นการเสริมประสิทธิภาพในระบบบำบัดน้ำเสียให้ทำงานได้ดีมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียได้มากกว่าปกติทั่วไป 

ในบ่อบำบัดน้ำเสียถ้ามีกลุ่มจุลินทรีย์ทั้งแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศจะเป็นสิ่งที่ดีต่อระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง เพราะระบบบำบัดน้ำเสียบางแห่งจะเป็นบ่อที่อับอากาศ ในน้ำเสียมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศในบ่อบำบัดมีน้อย น้ำเสียไม่สามารถบำบัดได้ นี่คือ ความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อบำบัดน้ำเสียแต่ละระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ           บ่อเกรอะเป็นจุดอับอากาศหรือแทบไม่มีออกซิเจนเลยก็ว่าได้ มีแต่ก๊าซอันตรายอยู่ในบ่อเกรอะ ดังนั้น กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจึงไม่สามารถทำงานได้ จำเป็นต้องพึ่งพาและอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้อากาศทดแทน

น้ำดีหรือน้ำเสียดูได้จากค่าพารามิเตอร์ ( ซึ่งจะมีค่ามาตรฐานกลาง ) น้ำเสียจากทุกๆแห่งจะมีความเกี่ยวข้องกับค่าพารามิเตอร์ ( Para Meter ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงค่าต่างๆในน้ำเสียว่า น้ำเสียมากหรือน้อย น้ำเสียมีความเป็นกรด-ด่างมากน้อยเพียงใด ในน้ำเสียมีปริมาณของแข็งมากน้อยเพียงใด ในน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์มากหรือน้อย ฯลฯ ค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของน้ำเสียและน้ำทิ้งของแต่ละแห่งได้เป็นอย่างดี เช่น  ค่า BOD > 100 ppm. ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นน้ำเสียสมบูรณ์แบบ หรือ ค่า pH ม่ค่าต่ำมากๆ จะส่งผลเสียโดยตรงต่อการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบ จุลินทรีย์ย่อยสลายอาจตายยกบ่อบำบัดนั้นๆได้ตลอดเวลา นี่คือความสำคัญของค่าพารามิเตอร์ในระบบบำบัดน้ำเสีย

ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานทั่วๆไป ( แต่ละแห่งกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกันออกไปตามสถานะของแหล่งน้ำเสียแต่ละแห่ง )

- pH ความหมายของค่า pH ( พีเอช ) ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-ด่าง ( เบส ) ของสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance หรือไม่เป็นกรดหรือด่าง ในน้ำเสียจึงมีการวัดค่าพารามิเตอร์ตัวนี้ ( pH )

- BOD (Biochemical Oxygen demand) คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการนำไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย น้ำที่มี BOD ณ 100 เป็นน้ำเสีย และถ้าน้ำมีค่า BOD < 100 mg/l เป็นน้ำเริ่มดี น้ำที่มี BOD สูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นในปริมาณที่มาก จุลินทรีย์จึงต้องใช้ออกซิเจน ( O2 ) เพื่อใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์เหล่านั้น

-COD ( Chemical Oxygen Demand ) คือ ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดทีต้องการใช้เพือออกซิเดชัน สารอินทรีย์ในนํ้ำเสียนั้นๆให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ 

- SS  สารแขวนลอย (Suspended Solids : SS) ค่าของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ โดยแขวนลอยหรือเจือปนอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ตะกอนดินทราย หรือสิ่งสกปรกที่ทิ้งหรือระบายลงสู่แหล่งน้ำ

- TDS  (Total Disolved Solids) คือค่ารวมของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- TKN ( N ) TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของ ไนโตรเจนอินทรีย์และ แอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์

- FO4 ( ค่าฟอสฟอรัส )

- S ( Sulfide : ค่าซัลไฟด์ในน้ำเสียเกิดจากปฏิกิริยารีดักชั่นของจุลินทรีย์กับซัลเฟต )

- DO ( Dissolved Oxygen : DO ) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่ามาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดี ( น้ำดี ) โดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 5-8 ppm. 

          ฯ ล ฯ

จะเห็นได้อย่างหนึ่งว่าค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะไปเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดโดยตรง ถ้าจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณน้อย จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์แทบทุกๆตัว โดยเฉพาะค่า  BOD , COD , SS , TDS, ยิ่งในน้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนในปริมาณที่สูง ยิ่งส่งผลให้ค่า BOD สูงตามไปด้วย ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อบำบัดล้วนต้องการปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย สารอินทรีย์ต่างๆถ้าถูกย่อยสลายได้มากจะส่งผลทำให้ค่า BOD , SS , TDS ลดลง ในขณะที่ออกซิเจนในน้ำเสียนั้นก็จะลดลงตามไปด้วย ( กรณีที่จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักดึงออกซิเจนไปใช้งาน ) ถ้าในบ่อบำบัดหรือในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายที่เพียงพอแล้ว จะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆแทบทุกๆค่าเข้าใกล้มาตรฐานหรือได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดไว้ ดังนั้น บ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆบระบบและทุกๆบ่อจะขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้โดยเด้ดขาด หรือมีน้อยเกินไประบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆหรือบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆก็จะมีปัญหาทันที ( ทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียด้อยลงทันที )

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ ( Anaerobic  Bacteria ) เราสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย บำบัดน้ำเน่าเสีย รวมถึงการกำจัดกลิ่น เราเป็นผู้ผลิตจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายแต่ประการใด เราให้คำแนะนำและคำปรึกษากับลูกค้าทุกๆท่านในการนำไปประยุกต์ใช้งานในแต่ด้าน ทั้งงานบำบัดน้ำเสีย งานดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ดับกลิ่นเน่าเหม็นในบ่อเกรอะ การดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น ดับกลิ่นโรงงานยางพาราส่งกลิ่นเหม็น บำบัดน้ำเสียในโรงงานทั่วๆไป บำบัดน้ำเสียตามอาคารสถานที่ต่างๆได้ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเพียงอย่างเดียวได้ประโยชน์อย่างน้อยที่สุด 2 ประการ คือ  

1. การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆ  

2. การดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆหรือกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือบ่อเกรอะ

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ขายจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียรวมถึงการกำจัดกลิ่นเน่าเหม็น ซึ่งเหมาะกับน้ำเสียที่มีค่าออกซิเจนในน้ำเสียต่ำหรือแทบไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย ( ค่า DO น้อยมากหรือแทบไม่มี ) ซึ่งจะส่งผลให้น้ำเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียมีน้อยหรือแทบไม่มีเลยในน้ำเสียนั้น กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อในน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนที่มากพอสำหรับใช้ในการสันดาปย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จึงเป็นที่มาของการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียนั่นเอง ซึ่งการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิธีการเติมอากาศ แต่ในบางกรณีหรือน้ำเสียในบางแห่ง ปริมาณน้ำเสียอาจจะมากกว่าปริมาณจุลินทรีย์ที่เข้าไปย่อยสลาย ซึ่งสังเกตได้จากค่าพารามิเตอร์ที่ยังคงไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ดังนั้น  จึงหาทางออกด้วยวิธีการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม )เข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็มนี้จะทำหน้าที่ได้คล้ายๆกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และสามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งสองกลุ่มในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียรวมไปถึงการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้พัฒนาต่อมาจากกลุ่มจุลินทรีย์อีเอ็ม ( EM ) อีกขั้นหนึ่ง เพื่อตอบโจทย์จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีกลิ่นหอม ใช้บำบัดน้ำเสียจะมีกลิ่นหอมทันที

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)  
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียพบกระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ  บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการน ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี ยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์สามารถบำบัดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria)   

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)   
4. กลุ่มจุลินท
รีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) 

 จุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นตัวทำการรีไซเคิลอินทรีย์วัตถุจากซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นสารใหม่กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในหลายด้าน
5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)
 

 จุลินทรีย์หอม-Kasama เป็นการรวมกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มาใช้งานหลักๆดังต่อไปนี้ .-

1. ใช้ในการบำบัดน้ำเสียตามแหล่งต่างๆ เช่น เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย  เติมบ่อเกรอะ

2.  ใช้ประโยชน์ในการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ตามแหล่งต่างๆ  กลิ่นคาวจากพืชและสัตว์ 

จุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama  )

- ผลิตจากหัวเชื้อจุลินทรีย์โดยตรง ไม่ใช่ผลิตจากการหมักพืชผักหรือมะกรูดมะนาว เปลือกส้ม ซึ่งไม่เหมาะกับการบำบัดน้ำเสีย 

- เป็นจุลินทรีย์ที่มีกลิ่นหอม เข้มข้นสูง แข็งแรง  ไม่เก่าเก็บ ย่อยสลายของเสียและน้ำเสียได้ทันที ไม่ต้องรอนานเหมือนจุลินทรีย์ผงหรือจุลินทรีย์ก้อน ( อีเอ็มบอล )

- ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นได้รวดเร็วทันใจ มีกลิ่นหอมทันที บำบัดน้ำเน่าเสียได้ดี

- เปลี่ยนกลิ่นเน่าเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้รวดเร็วและทันใจ

- ใช้ประโยชน์ทั้งการย่อยสลายของเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) และดับกลิ่นเน่าเหม็นจากการเน่าเสียของสารอินทรีย์ 

 - ใช้งานได้หลากหลายกรณี ทั้งการบำบัดน้ำเสีย เติมบ่อเกรอะ ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น ดับกลิ่นบ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น ดับกลิ่นท่อน้ำทิ้งหรือท่อระบายน้ำส่งกลิ่นเหม็น ดับกลิ่นส้วมเหม็น ฯลฯ

การนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ไปใช้งานบำบัดน้ำเสีย

การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

เนื่องจากจุลินทรีย์ของเราเป็นจุลินทรีย์หอม ใช้แล้วมีกลิ่นหอมทันที ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบในประเทศไทย ในการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียนั้นต้องดูปริมาณน้ำเสียว่ามีปริมาณกี่คิวหรือกี่ ลบม. และจะใช้ในจุดใดบ้างจึงจะเหมาะสม แต่โดยทั่วๆไปของระบบบำบัดน้ำเสียจะใช้จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียในจุดที่ 1 หรือบ่อที่ 1 นั่นเอง ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำเสียเป็นจุดแรกหรือบ่อแรก ถ้าน้ำเสียนั้นมีตะกอนจำนวนมากก็ควรใช้ฟิลเตอร์กรองหรือดักตะกอนไม่ให้ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อลดค่า SS ไปในตัว ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียเป็นแบบเติมอากาศ จะมีบ่อรองรับน้ำเสียอย่างน้อย 3 บ่อด้วยกัน ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรก  บ่อที่ 2 เป็นบ่อเติมอากาศ ส่วนบ่อที่ 3 เป็นบ่อพักน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม  อัตราส่วนการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า  1-2 ลิตร ต่อ 1 คิวน้ำเสีย หรือเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นได้ตามความเหมาะสม กรณีที่น้ำเสียวิกฤตมาก โดยการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ลงในบ่อบำบัดเสียบ่อแรก อัตราส่วนจุลินทรีย์ : น้ำเสีย  1-2 ลิตร ต่อ น้ำเสีย 1 คิวหรือ 1 ลบม. (กรณีที่ไม่วิกฤตมาก ) แต่ถ้ากรณีที่น้ำเสียวิกฤตมากๆ ควรเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากขึ้นตามปัญหา  ควรหมั่นเติมจุลินทรีย์เรื่อยๆ เพื่อให้ระบบการย่อยสลายมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียอย่างน้อยเดือนละครั้ง ถ้าเป็นไปได้สัปดาห์ละครั้งยิ่งเป็นการดีต่อระบบ ซึ่งจะส่งผลทำให้จุลินทรีย์ในระบบไม่ลดน้อยลง เพราะโดยทั่วไปจุลินทรีย์ในระบบบางส่วนจะสลายไปตามธรรมชาติ ในขณะที่ของเสียเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จุลินทรีย์มีปริมาณน้อยอาจย่อยสลายไม่ทัน จึงส่งผลให้ระบบมีปัญหา เกิดน้ำเสียมากขึ้น ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องพึ่งจุลินทรีย์ด้วยการเติมจุลินทรีย์เข้าไปในระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียดังกล่าว

บำบัดน้ำเสียอย่างไรให้ได้ผลดี ? 

วัตถุประสงค์ของการบำบัดน้ำเสีย เพื่อเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม เพราะถ้าปล่อยน้ำเสียทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะก็จะสร้างมลภาวะทั้งกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียและปัญหาอีกหลายอย่างที่ติดตามมาในภายหลัง ดังนั้น ถ้ามีน้ำเสียต้องทำการบำบัดก่อนปล่อยทิ้ง ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆเป็นหน้าที่โดยตรงของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ทั้งนั้นในการบำบัด ไม่มีเว้นแม้กระทั่งเคมีบำบัด ขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องพึ่งจุลินทรีย์อยู่ดี ในการบำบัดน้ำเสียให้ได้ผลดีนั้นต้องทำให้ถึง ทั้งการเติมจุลินทรีย์ให้กับระบบบำบัดต้องไม่น้อยหรือต้องมากกว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริงจึงจะได้ผลดีระบบจึงจะมีประสิทธิภาพ และต้องมีความต่อเนื่อง ( เติมจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่องเมื่อปริมาณจุลินทรีย์ลดลง ) จะมีจุลินทรีย์บางส่วนที่จะสลายไปตามธรรมชาติ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์อยู่เรื่อยๆเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องการให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้ได้ดี ถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศก็ให้เติมอากาศอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียระหว่างกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม หรือ em )

                         

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่เราผลิตเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียรวมไปถึงการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ออกแบบตามความต้องการของลูกค้าโดยตรง โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่มีปัญหาห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น บ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น น้ำเน่าเหม็นในโรงงาน เป็นต้น

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?

-  สำหรับย่อยสลายของเสียในน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียในอาคารหรือโรงงาน ดับกลิ่นเหม็นบ่อบำบัดน้ำเสีย

- ดับกลิ่นบ่อเกรอะ , ย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะ , เติมบ่อเกรอะเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์

- ดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น,  ดับกลิ่นปัสสาวะ ,  กลิ่นมูลสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด

- ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น ทั้งกลิ่นเหม็นจากโถส้วม ชักโครกและพื้นห้องน้ำ

- ดับกลิ่นส้วมเหม็น  บ่อเกรอะเหม็น  ท่อเดรนในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำเหม็น  ท่อระบายน้ำในห้องน้ำเหม็น ถังขยะเหม็น

- ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด  ดับกลิ่นตามกรงสุนัข คอกสุนัขส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นมูลสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ทุกชนิด  เช่น ฟาร์มเป็ดฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

- ดับกลิ่นเน่าเหม็นตามตลาดและร้านอาหารทั่วไปที่มีของเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

จุลินทรีย์ของเราบรรจุแกลลอนขนาด 20  ลิตร มีเพียงขนาดเดียวคือ 20  ลิตรเท่านั้น

     ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา )

ปกติแกลลอนละ  1,200 บาท  จัดส่งฟรีทั่วประเทศ

    

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร ฟาร์มเลี้ยงเป็ด ฟาร์มเลี้ยงไก่ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสุนัข 

 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชนชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบ 

จำหย่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย , ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย , จำหน่ายจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย , ขายจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียนั้นๆ กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่น/กำจัดกลิ่นที่มีกลิ่นหอม

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย กับลูกค้าของเราทุกๆท่านฟรีๆ

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคการบำบัดน้ำเสียและปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียฟรีๆ

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างต่อเนื่องกับลูกค้าทุกๆท่านที่ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าอย่างต่อเนื่อง

 

 ที่นี่..ไม่ได้จำหน่ายเพียงจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นเพียงแค่นั้น แต่เรายังมุ่งช่วยเหลือลูกค้าของเราทุกๆท่าน ที่มีปัญหาในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหา โดยการให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆสำหรับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์และปัญหาอื่นๆในระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมดของลูกค้า การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มีเป็นจำนวนมาก ในการแก้ปัญหาต้องใช้ความรู้และความชำนาญพอสมควร   

   จุลินทรีย์ คือ อะไร ??

จุลินทรีย์ ( Micro-organism  ) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน และมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติตาม ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์บนโลกใบนี้มีทั้งกลุ่มที่มีประโยชน์ มีโทษ และเป็นกลางตามภาพจำลองด้านบน

1.  จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีอยู่ในธรรมชาติประมาณ  10%  มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่รักษ์โลก ไม่ให้โลกเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะ

2.  จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้โทษหรือจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อโรคต่างๆ มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนดที่ไม่ใช้ออกซิเจน กลุ่มนี้ในธรรมชาติมีอยู่ประมาณ 10% ปัญหาการเกิดการเน่าเหม็น ของเสียต่างๆ โรคสัตว์และโรคพืชก็มาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มทำลายโลก

3.  จุลินทรีย์ที่เป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะแสดงตัวเป็นกลางๆ เข้ากับกลุ่มใดก็ได้ในทั้ง 2 กลุ่มด้านบน มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุดของจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกนี้คือประมาณ  80% เข้าได้กับทุกๆกลุ่ม ( ใน 2 กลุ่มด้านบน )

จุลินทรีย์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการบำบัดน้ำเสีย ?

จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียคือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ใช้ออกซิเจนหรือชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ( กลุ่มที่ 1 บน ) จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ให้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งานในการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก ของเสียต่างๆรวมถึงน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากฝีมือของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้เอง จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ยังมีการแยกย่อยไปอีก 2 กลุ่มย่อยด้วยกัน คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย  และกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศออกซิเจน ในการบำบัดน้ำเสียต่อไปนี้จึงจะขอกล่าวถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้

     

ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วน โดยเฉพาะปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน มีกี่ค่า ? ต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไร? ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบ ปัญหาทางด้านเทคนิค การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Microorganisms )

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เท่านั้น  ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์รวมถึงดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ช่วยลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ .-

1.  กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีชีวิตอยู่ได้โดยต้องอาศัยออกซิเจนเป็นหลัก ขาดอากาศออกซิเจนไม่ได้ มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่กระจัดกระจายตามธรรมชาติ น้ำ ดิน และอากาศ

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้ดีในสภาวะไร้ออกซิเจน ทำปฏิกิริยาย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศออกซิเจน ในที่อับอากาศหรือมีอากาศน้อยหรือไม่มีอากาศเลย จึงเหมาะกับการใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงของเสียต่างๆ ในน้ำเสียที่อยูก้นบ่อบำบัด

ในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะพึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียที่จะทำการบำบัดนั้นๆ เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเจริญเติบโตและขยายเซลล์ให้มากขึ้น เพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงเป็นที่มาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS เพื่อใช้บำบัดน้ำเสียที่มาจากแต่ละแหล่งดังกล่าว 

          

  1. การบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก 

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ดำรงชีพและเจริญเติบโตขยายเซลล์ต้องอาศัยอาหารและอากาศออกซิเจนเป็นหลัก ขาดออกซิเจนไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ส่วนของอาหารก็คือของเสียต่างๆในน้ำเสียนั่นเอง แต่ข้อเสียของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ก็คือ อยู่แบบกระจัดกระจายตามธรรมชาติดิน น้ำ อากาศ ไม่ค่อยรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ นอกจากเราจะออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้มันมารวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนจำนวนมาก ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องมีการออกแบบระบบทุกส่วนให้เหมาะสมกับการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพื่อดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้ในงานย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้ได้ปริมาณมากที่สุด เพื่อให้ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้ได้มากที่สุด เหลือกากตะกอนของเสียน้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านได้ง่ายขึ้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนตามภาพจำลองสมการด้านล่าง

              

ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ขั้นตอนสุดท้ายจะได้ผลผลิตตามสมการด้านบน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแบบสมบูรณ์ขั้นสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงแล้วการบำบัดน้ำเสียไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% จะยังคงเหลือของเสียที่เป็นกากตะกอนละเอียดหรือตะกอนส่วนเกินบางส่วน ตะกอนส่วนเกินจะเหลือมากหรือเหลือน้อยขึ้นอยู่กับการย่อยสลายของจุลินทรีย์เป็นหลัก การย่อยสลายทำได้มากที่สุด อาจจะเหลือตะกอนส่วนเกินเพียงเล็กน้อยก็เป็นไปได้

                 

ภาพบนเป็นโมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่พบเห้นทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศตามภาพบนนี้ พบได้ตามอาคารสำนักงานหลายๆแห่ง อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมหลายๆแห่ง ส่วนใหญ่จะใช้โมเดลนี้เป็นหลัก คือ

1. มีบ่อรับน้ำเสีย น้ำเสียทั้งหมดจะนำมารวมกันที่บ่อนี้ ( ยกเว้นน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกส่วนออกไปต่างหาก ) การย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในจุดนี้ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อเติมอากาศ ) บ่อนี้จะเน้าการตกตะกอนหนักเบาทั้งหลายรวมกรองการใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบหลายชั้น ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ได้ในระดับหนึ่ง

2. บ่อเติมอากาศ น้ำเสียจะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ภาพบน  ) เพื่อการการย่อยสลายของเสียต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นในจุดนี้หรือบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่อยู่ที่ปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในบ่อนี้เป็นหลัก ถ้าปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นได้มาก ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มาก ของเสียต่างๆเหลือน้อยในบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายก็มีโอกาสผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์จึงอยู่ที่ประสิทธิภาพและปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงจะไม่เกิดปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด

3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง เป็นบ่อรองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ตามภาพบน ) นำมาพักไว้ที่บ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนให้เป็นน้ำใสก่อนที่จะทำการปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป บ่อนี้จะมีตะกอนส่วนเกิน ( Excess  Sludge ) ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดน้ำหนักเบาตกตะกอนอยู่ก้นบ่อบำบัด ตะกอนส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดฝังกลบหรือไปทำปุ๋ย เพราะมี N และ P เหลือในตะกอนละเอียด หรือในบางแห่งอาจนำตะกอนส่วนเกินนี้เวียนกลับไปบำบัดและย่อยสลายซ้ำในบ่อที่ 1 หรือบ่อเติมอากาศก็สามารถทำได้ การนำตะกอนส่วนเกินไปบำบัดซ้ำหรือการนำตะกอนส่วนเกินไปย่อยสลายซ้ำก็เพื่อให้ของเสียเหลือน้อยที่สุด ( เข้าใกล้ Zero Waste ) ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น

  หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต้องดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้ดี ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดให้จุลินทรีย์ดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในน้ำเสียต้องมีปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมากพอที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ) การที่จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้จำนวนมากนั้น สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด ระบบบำบัดต้องเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ การเติมอากาศต้องกระจายได้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ไม่ใช้อากาศถึงเพียงบางจุดหรือจุดใดจุดหนึ่งของบ่อบำบัดเท่านั้น บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์โดยตรง น้ำที่เน่าเสียจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย น้ำจึงเกิดการเน่าเสียขึ้น จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้ จึงไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นนั่นเอง การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดให้ดีมีประสิทธิภาพก็คือ การดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดให้เจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เพราะถ้าจุลินทรีย์มีปริมาณน้อยลงหรือลดลงเมื่อใด เมื่อนั้นระบบบำบัดจะเริ่มมีปัญหาทันที ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดจะเกิดขึ้นทันที เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน เพราะของเสียต่างๆในน้ำเสียมีปริมาณมากเกินกำลังการย่อยสลายของจุลินทรีย์

  สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในบ่อบำบัดของจุลินทรีย์ย่อยสลายคืออะไร ?

กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ ถ้ามีสิ่งแวดล้อมต่างๆในบ่อบำบัดเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต  อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดออกซิเจนไม่ได้  ถ้าในบ่อบำบัดมีออกซิเจนน้อยหรือแทบจะไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆเลย ( ค่า DO ต่ำมาก ) จะส่งผลต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที อาจตายเกลี้ยงยกบ่อได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ หรือ กรณีที่น้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีค่า pH ต่ำมากๆ หรือ สูงมากๆ ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ นี่คือ ความสำคัญและบทบาทของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศที่ต้องบริหารจัดการระบบให้เป็น มีความรู้และความเข้าใจในระบบพอสมควรจึงจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพได้ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำนด ระบบล้มเหลวบ่อยๆหรือเป็นประจำ ระบบมีปัญหาในหลายๆเรื่องก็มาจากจุดนี้ ในการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในระบบจึงจะสามารถแก้ไขได้ การบริหารจัดการระบบต้องแม่นยำในทุกๆด้าน การบำรุงรักษาต้องมีประสิทธิภาพ ระบบจึงจะออกมาดีมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย

2. การบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน

ในการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่มนี้เป็นหลัก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น และกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่จะกล่าวต่อไปนี้  จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้สามารถทำปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและในสภาวะที่มีอากาศออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆ โดยไม่มีการดึงออกซิเจนในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ซึ่งเป็นผลดีต่อกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่จะได้มีออกซิเจนเพียงพอในการดำรงชีพในน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อย นอกจากการจับเอาจุลินทรีย์กลุ่มนี้มารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ( สังเคราะห์ขึ้น ) เพื่อเลี้ยงเชื้อให้มันขยายตัวให้มากขึ้น ( ขยายเซลล์ ) ได้ตามที่เราต้องการมากหรือน้อย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย

   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เกิดจากการสังเคราะห์รวมกลุ่มกันของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายหลายๆสายพันธุ์นำมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นตัวเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ช่วยลดภาระหนักในการย่อยสลายของเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เป็นการเพิ่มกำลังการย่อยสลายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป ช่วยเติมเต็มระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเแพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเต็มอากาศ AS  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เป็นผลดีต่อระบบบำบัดโดยตรง

      

ภาพบนเป้นกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จะได้ผลลัพธ์เพิ่มมาอีกตัวก็คือ ก๊าซมีเทน ( CH4 ) ผลพลอยได้จากการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาจะได้ก๊าซมีเทนตามภาพจำลองด้านบน ก๊าซมีเทนถ้ามีเป็นจำนวนมากสามารถนำไปประยุกต์เป็นพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ 

ภาพบนเป็นโมเดลปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งจะส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

  บทสรุปในการบำบัดน้ำเสีย    

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น  และจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียก็จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการดำรงชีพ คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก และ กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน  ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุด จึงมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เพื่อรองรับการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานนั่นเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ไม่เพียงพอหรือมีจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยในบ่อบำบัดหรือระบบบำบัด จึงทำให้น้ำเน่าเสียปะทุขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่ระบบมีปัญหา ไม่ตอบสนองต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ระบบก็จะล้มเหลวได้ง่ายๆ

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียที่ระบบบำบัดมีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนไม่เพียงพอ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทดแทนได้ทันที เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบได้มากตามความต้องการทันที เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นจุลินทรีย์กำจัดกลิ่นหรือจุลินทรีย์ดับกลิ่น ใช้จุลินรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการคือ การบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสีย ดับกลิ่นน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัด ใช้แล้วกลิ่นหอมทันทีต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น โปรดระวังของลอกเลียนแบบ รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ต้องที่นี่.. เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆกับลูกค้าทุกๆท่านที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากที่นี่...รวมทั้งให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาเกิดขึ้นปรึกษาได้ฟรีๆ

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  แกลลอนละ  1,200 บาท

ขนาดบรรจุ แกลลอน  20  ลิตร ( บรรจุจริง  21.50  ลิตร )

จัดส่งฟรีทั่วประเทศโดยขนส่งด่วนพิเศษ ถึงผู้รับภายใน 2-3 วันทำการขนส่ง 

        

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น.... 



         

ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

 

การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่..

วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่...  

ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่...

ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..

ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...

ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
 ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นรถขยะ / ดับกลิ่นรถขนขยะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

 การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..

การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

 วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่...

ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. 

สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. 

วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 

ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  คลิกที่นี่.. 

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม  คลิกที่นี่.. 

จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..  

ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน  คลิกที่นี่.. 

วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่...

ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่..

เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ  คลิกดูที่นี่..

 ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่...

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่....       

 จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูข้อมูลที่นี่... 

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์หอม  คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. 

ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม  คลิกที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ  คลิกที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น  คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่.. 

em บำบัดน้ำเสีย/  em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่..  

em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. 

em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่...  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่...

วิธีดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. 

การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...

ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...  

ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่...

ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่...

ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่...

ลดค่า  BOD  ทำอย่างไร ?  อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... 

 การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. 

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่..

เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ  คลิกที่นี่...   

จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...