จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาล
ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล จุลินทรีย์เติมบ่อเกรอะในโรงพยาบาล ส่งตรงจากผู้ผลิตถึงโรงพยาบาล ทำการบำบัดน้ำเสียได้ทันที ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้ทันที ไม่ต้องรอเวลานาน น้ำเสียในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทั่วๆไปมีปริมาณมากและบางส่วนปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ ดังนั้น ในการบำบัดต้องคัดแยกส่วนที่เป็นน้ำเสียโดยตรงกับส่วนที่ปนเปื้อนเชื้อออกจากกัน แต่อาจจะมีบางส่วนที่เล็ดลอดไปกับน้ำเสียได้ ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลมีทั้งระบบใหญ่ ( AS )และระบบเล็กกรณีที่เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ไม่ว่าจะใช้ระบบใดๆก็ตามล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้นในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียที่เกิดขึ้น เมื่อปริมาตรของน้ำเสียมีมาก ก็จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากขึ้นตามไปด้วย ลำพังถ้าใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆ ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติในระบบจะไม่เพียงพอกับปริมาตรของน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ เพื่อให้การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์มากขึ้นก่อนผ่านขั้นตอนต่อไปคือการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วโดยจุลินทรีย์ในขั้นตอนแรก กรณีที่โรงพยาบาลมีระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ( Activated Sludge ) ก็สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเติมลงไปในระบบได้ทันที สามารถทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในระบบ AS ได้ เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานของท่านด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ไม่ต้องดึงเอาออกซิเจนในน้ำเสียมาใช้ทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นในเวลาเดียวกัน ค่าพื้นฐานพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสีย - ค่าบีโอดี (BOD) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร - ค่าซีโอดี (COD) ในน้ำเสีย คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมี มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร - ค่า TS ปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total Solids) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า SS ปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid) ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร - ค่า TKN หรือปริมาณไนโตรเจนในรูป TKN มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร - ค่า F ( FO4 ) ปริมาณฟอสเฟต มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร - ค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าลักษณะน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537) ดังนี้
- ค่าบีโอดี (BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร - ค่า SS หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS ) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร อาคารสำนักงานทุกๆแห่ง ซึ่งรวมทั้งคอนโดมิเนี่ยม อพาร์ทเม้นท์ด้วย ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หลายๆชั้น หรืออาคารสำนักงานขนาดเล็กจำเป็นต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียรองรับน้ำเสียจากการใช้น้ำในอาคารนั้นๆ เมื่อมีบ่อบำบัดน้ำเสีย ( ซึ่งสร้างไว้แล้วพร้อมกับอาคารในครั้งแรก ) จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตนเอง เพื่อทำการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นในอาคารสำนักงานนั้นๆทั้งหมด บ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานส่วนใหญ่ จะเป็นแบบบ่อเติมอากาศ ซึ่งเป็นระบบที่ง่ายลงทุนไม่มาก ใช้พื้นที่น้อย จะมีด้วยกันประมาณ 3 บ่อเป็นอย่างน้อย โดยบ่อแรกจะเป็นบ่อรับน้ำเสียทั้งหมดจากอาคารสำนักงานนั้นๆ บ่อที่สอง จะเป็นบ่อเติมอากาศ ( โดยใช้เครื่องเติมอากาศ ) และบ่อที่สามจะเป็นบ่อพักน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป ปัญหาของน้ำเสียของอาคารสำนักงาน โดยเฉพาะอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ที่น่าสนใจมีอยู่ด้วยกัน 2 ปัญหาใหญ่ๆเท่าที่พบมาก็คือ 1. น้ำเสียจากการใช้น้ำทั่วๆไปมักจะนำมารวมกันกับน้ำเสียที่มาจากส้วมหรือชักโครกในห้องน้ำแล้วนำมาลงรวมในบ่อเดียวกัน ( โดยเฉพาะกับอาคารสำนักงานรุ่นเก่า ) ซึ่งจะทำให้การบำบัดยากขึ้น ซึ่งระบบบำบัดต้องดีมากพอสมควร ในทางปฏิบัติที่ถูกต้องนั้นต้องทำการแยกกันระหว่างน้ำเสียทั่วๆไปกับน้ำเสียที่มาจากส้วมหรือชักโครก เพราะน้ำเสียจากชักโครกหรือส้วมจะมีทั้งน้ำเสียและมูลตะกรันที่เป็นของแข็ง การย่อยสลายตะกรันเหล่านี้โดยจุลินทรีย์จะใช้เวลานานขึ้น จึงต้องมีการแยกบ่อน้ำเสียกันนั่นเอง 2. น้ำเสียมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งขาดการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานโดยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบจริงๆ ในจุดนี้พบบ่อยๆโดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียจะไม่ค่อยมี ระบบบำบัดน้ำเสียต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งบ่อบำบัดซึ่งต้องมีการรีบูทในบางครั้ง เครื่องเติมอากาศต้องมีแรงม้าถึง ในบางแห่งไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย หรือบางแห่งมีเครื่องเติมอากาศแต่เสียยังไม่ได้ซ่อม ส่งผลให้น้ำเสียไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้ง เลยต้องทิ้งน้ำเสียให้ผ่านออกไปสู่สาธารณะสร้างมลพิษและมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งกลิ่นเหม็นและน้ำมีสีดำ ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมโดยตรง เป็นภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของเจ้าของอาคารสำนักงานที่จะต้องเข้ามาบริหารจัดการน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ทำอย่างไรระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพขึ้นมาได้ ( บำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะปล่อยทิ้ง ) อาคารสำนักงานมีเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ถ้าปล่อยน้ำเสียออกมาพร้อมๆกันโดยที่ไม่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อน ผลจะออกมาเป็นอย่างไร? จิตสำนึกของผู้ประกอบการควรมาเป็นสิ่งแรก เมื่อเราสร้างน้ำเสียขึ้น เราก็ต้องรับผิดชอบทำการแก้ไข ซึ่งก็ไม่ได้ยุ่งยากหรือลงทุนมากมายอะไรก็สามารถทำได้ สำรวจและตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อ สำรวจตรวจสอบเครื่องมือต่างๆในระบบบำบัดให้ครบและอยู่ในสภาพดีใช้งานได้ดี รันระบบบำบัดแล้วทำการตรวจสอบเช็คค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้ได้มาตรฐานตามกฏหมายกำหนดไว้ ให้ถือเป็นหน้าที่ปฏิบัติเป็นประจำ ( งานหลักประจำ ) เราจะทำการบำบัดน้ำเสียโดยใช้เครื่องมือหรืออาวุธอะไร ? คำตอบก็คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเพียงเท่านั้น อย่างอื่นไม่สามารถนำมาทดแทนหรือบำบัดแทนได้ คำตอบสุดท้ายต้องพึ่งพากลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบที่สร้างขึ้นมาหรือบ่อบำบัดน้ำเสียที่สร้างขึ้นล้วนต้องการดึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียมาใช้งานทั้งสิ้น ยิ่งของเสียและน้ำเสียมีมากขึ้น ยิ่งมีความต้องการปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมากพอ ( มากกว่าของเสียและน้ำเสีย ) น้ำเสียก็จะได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดี แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ( เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของเสียและน้ำเสีย ) จะส่งผลในทางตรงกันข้าม นั่นคือ น้ำเสียยังคงไม่ได้รับการบำบัดที่สมบูรณ์ให้เป็นน้ำดี อาจมีทั้งสีและกลิ่นไม่พึงประสงค์ติดตามมา เหม็นทั้งบ่อบำบัด จึงเรียกว่าบ่อบำบัดที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การแก้ปัญในเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับการดูแลและบำรุงรักษาบ่อบำบัดและระบบบำบัดให้ดีสม่ำเสมอ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. - 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ ) ทางออกของบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยหรือแทบไม่มีเลย ด้วยการเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสียให้มากพอกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเติมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนหรือการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น ขอให้ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นใช้ได้แล้ว จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ในบ่อบำบัดน้ำเสียถึงแม้ไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้อย่างต่อเนื่อง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) 2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria) 3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria) จุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นตัวทำการรีไซเคิลอินทรีย์วัตถุจากซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นสารใหม่กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในหลายด้าน จุลินทรีย์ของเราบรรจุแกลลอนขนาด 20 ลิตร มีเพียงขนาดเดียวคือ 20 ลิตรเท่านั้น ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า แกลลอนละ 1,200 บาท จัดส่งฟรีทั่วประเทศ
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลและคลินิกทั่วๆไป จุลินทรีย์ดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร ฟาร์มเลี้ยงเป็ด ฟาร์มเลี้ยงไก่ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสุนัขและอื่นๆ
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชนชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบ จำหย่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย , ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย , จำหน่ายจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย , ขายจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียนั้นๆ กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่น/กำจัดกลิ่นที่มีกลิ่นหอม - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย กับลูกค้าของเราทุกๆท่านฟรีๆ - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคการบำบัดน้ำเสียและปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียฟรีๆ - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างต่อเนื่องกับลูกค้าทุกๆท่านที่ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าอย่างต่อเนื่อง
ที่นี่..ไม่ได้จำหน่ายเพียงจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นเพียงแค่นั้น แต่เรายังมุ่งช่วยเหลือลูกค้าของเราทุกๆท่าน ที่มีปัญหาในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหา โดยการให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆสำหรับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์และปัญหาอื่นๆในระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมดของลูกค้า การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มีเป็นจำนวนมาก ในการแก้ปัญหาต้องใช้ความรู้และความชำนาญพอสมควร จุลินทรีย์ คือ อะไร ?? จุลินทรีย์ ( Micro-organism ) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน และมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติตาม ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์บนโลกใบนี้มีทั้งกลุ่มที่มีประโยชน์ มีโทษ และเป็นกลางตามภาพจำลองด้านบน 1. จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่รักษ์โลก ไม่ให้โลกเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะ 2. จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้โทษหรือจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อโรคต่างๆ มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนดที่ไม่ใช้ออกซิเจน กลุ่มนี้ในธรรมชาติมีอยู่ประมาณ 10% ปัญหาการเกิดการเน่าเหม็น ของเสียต่างๆ โรคสัตว์และโรคพืชก็มาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มทำลายโลก 3. จุลินทรีย์ที่เป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะแสดงตัวเป็นกลางๆ เข้ากับกลุ่มใดก็ได้ในทั้ง 2 กลุ่มด้านบน มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุดของจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกนี้คือประมาณ 80% เข้าได้กับทุกๆกลุ่ม ( ใน 2 กลุ่มด้านบน ) จุลินทรีย์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการบำบัดน้ำเสีย ? จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียคือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ใช้ออกซิเจนหรือชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ( กลุ่มที่ 1 บน ) จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ให้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งานในการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก ของเสียต่างๆรวมถึงน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากฝีมือของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้เอง จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ยังมีการแยกย่อยไปอีก 2 กลุ่มย่อยด้วยกัน คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย และกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศออกซิเจน ในการบำบัดน้ำเสียต่อไปนี้จึงจะขอกล่าวถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้ ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วน โดยเฉพาะปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน มีกี่ค่า ? ต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไร? ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบ ปัญหาทางด้านเทคนิค การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Microorganisms ) กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เท่านั้น ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์รวมถึงดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ช่วยลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ .- 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีชีวิตอยู่ได้โดยต้องอาศัยออกซิเจนเป็นหลัก ขาดอากาศออกซิเจนไม่ได้ มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่กระจัดกระจายตามธรรมชาติ น้ำ ดิน และอากาศ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้ดีในสภาวะไร้ออกซิเจน ทำปฏิกิริยาย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศออกซิเจน ในที่อับอากาศหรือมีอากาศน้อยหรือไม่มีอากาศเลย จึงเหมาะกับการใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงของเสียต่างๆ ในน้ำเสียที่อยูก้นบ่อบำบัด ในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะพึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียที่จะทำการบำบัดนั้นๆ เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเจริญเติบโตและขยายเซลล์ให้มากขึ้น เพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงเป็นที่มาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS เพื่อใช้บำบัดน้ำเสียที่มาจากแต่ละแหล่งดังกล่าว
1. การบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ดำรงชีพและเจริญเติบโตขยายเซลล์ต้องอาศัยอาหารและอากาศออกซิเจนเป็นหลัก ขาดออกซิเจนไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ส่วนของอาหารก็คือของเสียต่างๆในน้ำเสียนั่นเอง แต่ข้อเสียของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ก็คือ อยู่แบบกระจัดกระจายตามธรรมชาติดิน น้ำ อากาศ ไม่ค่อยรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ นอกจากเราจะออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้มันมารวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนจำนวนมาก ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องมีการออกแบบระบบทุกส่วนให้เหมาะสมกับการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพื่อดึงจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้ในงานย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้ได้ปริมาณมากที่สุด เพื่อให้ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้ได้มากที่สุด เหลือกากตะกอนของเสียน้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านได้ง่ายขึ้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนตามภาพจำลองสมการด้านล่าง
ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ขั้นตอนสุดท้ายจะได้ผลผลิตตามสมการด้านบน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแบบสมบูรณ์ขั้นสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงแล้วการบำบัดน้ำเสียไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% จะยังคงเหลือของเสียที่เป็นกากตะกอนละเอียดหรือตะกอนส่วนเกินบางส่วน ตะกอนส่วนเกินจะเหลือมากหรือเหลือน้อยขึ้นอยู่กับการย่อยสลายของจุลินทรีย์เป็นหลัก การย่อยสลายทำได้มากที่สุด อาจจะเหลือตะกอนส่วนเกินเพียงเล็กน้อยก็เป็นไปได้
ภาพบนเป็นโมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่พบเห้นทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศตามภาพบนนี้ พบได้ตามอาคารสำนักงานหลายๆแห่ง อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมหลายๆแห่ง ส่วนใหญ่จะใช้โมเดลนี้เป็นหลัก คือ 1. มีบ่อรับน้ำเสีย น้ำเสียทั้งหมดจะนำมารวมกันที่บ่อนี้ ( ยกเว้นน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกส่วนออกไปต่างหาก ) การย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในจุดนี้ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อเติมอากาศ ) บ่อนี้จะเน้าการตกตะกอนหนักเบาทั้งหลายรวมกรองการใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบหลายชั้น ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ได้ในระดับหนึ่ง 2. บ่อเติมอากาศ น้ำเสียจะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ภาพบน ) เพื่อการการย่อยสลายของเสียต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นในจุดนี้หรือบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่อยู่ที่ปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในบ่อนี้เป็นหลัก ถ้าปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นได้มาก ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มาก ของเสียต่างๆเหลือน้อยในบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายก็มีโอกาสผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์จึงอยู่ที่ประสิทธิภาพและปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงจะไม่เกิดปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด 3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง เป็นบ่อรองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ตามภาพบน ) นำมาพักไว้ที่บ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนให้เป็นน้ำใสก่อนที่จะทำการปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป บ่อนี้จะมีตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดน้ำหนักเบาตกตะกอนอยู่ก้นบ่อบำบัด ตะกอนส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดฝังกลบหรือไปทำปุ๋ย เพราะมี N และ P เหลือในตะกอนละเอียด หรือในบางแห่งอาจนำตะกอนส่วนเกินนี้เวียนกลับไปบำบัดและย่อยสลายซ้ำในบ่อที่ 1 หรือบ่อเติมอากาศก็สามารถทำได้ การนำตะกอนส่วนเกินไปบำบัดซ้ำหรือการนำตะกอนส่วนเกินไปย่อยสลายซ้ำก็เพื่อให้ของเสียเหลือน้อยที่สุด ( เข้าใกล้ Zero Waste ) ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต้องดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้ดี ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดให้จุลินทรีย์ดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในน้ำเสียต้องมีปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมากพอที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ) การที่จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้จำนวนมากนั้น สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด ระบบบำบัดต้องเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ การเติมอากาศต้องกระจายได้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ไม่ใช้อากาศถึงเพียงบางจุดหรือจุดใดจุดหนึ่งของบ่อบำบัดเท่านั้น บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์โดยตรง น้ำที่เน่าเสียจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย น้ำจึงเกิดการเน่าเสียขึ้น จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้ จึงไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นนั่นเอง การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดให้ดีมีประสิทธิภาพก็คือ การดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดให้เจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เพราะถ้าจุลินทรีย์มีปริมาณน้อยลงหรือลดลงเมื่อใด เมื่อนั้นระบบบำบัดจะเริ่มมีปัญหาทันที ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดจะเกิดขึ้นทันที เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน เพราะของเสียต่างๆในน้ำเสียมีปริมาณมากเกินกำลังการย่อยสลายของจุลินทรีย์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในบ่อบำบัดของจุลินทรีย์ย่อยสลายคืออะไร ? กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ ถ้ามีสิ่งแวดล้อมต่างๆในบ่อบำบัดเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดออกซิเจนไม่ได้ ถ้าในบ่อบำบัดมีออกซิเจนน้อยหรือแทบจะไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆเลย ( ค่า DO ต่ำมาก ) จะส่งผลต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที อาจตายเกลี้ยงยกบ่อได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ หรือ กรณีที่น้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีค่า pH ต่ำมากๆ หรือ สูงมากๆ ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ นี่คือ ความสำคัญและบทบาทของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศที่ต้องบริหารจัดการระบบให้เป็น มีความรู้และความเข้าใจในระบบพอสมควรจึงจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพได้ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำนด ระบบล้มเหลวบ่อยๆหรือเป็นประจำ ระบบมีปัญหาในหลายๆเรื่องก็มาจากจุดนี้ ในการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในระบบจึงจะสามารถแก้ไขได้ การบริหารจัดการระบบต้องแม่นยำในทุกๆด้าน การบำรุงรักษาต้องมีประสิทธิภาพ ระบบจึงจะออกมาดีมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย 2. การบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ในการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่มนี้เป็นหลัก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น และกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่จะกล่าวต่อไปนี้ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้สามารถทำปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและในสภาวะที่มีอากาศออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆ โดยไม่มีการดึงออกซิเจนในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ซึ่งเป็นผลดีต่อกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่จะได้มีออกซิเจนเพียงพอในการดำรงชีพในน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อย นอกจากการจับเอาจุลินทรีย์กลุ่มนี้มารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ( สังเคราะห์ขึ้น ) เพื่อเลี้ยงเชื้อให้มันขยายตัวให้มากขึ้น ( ขยายเซลล์ ) ได้ตามที่เราต้องการมากหรือน้อย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เกิดจากการสังเคราะห์รวมกลุ่มกันของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายหลายๆสายพันธุ์นำมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นตัวเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ช่วยลดภาระหนักในการย่อยสลายของเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เป็นการเพิ่มกำลังการย่อยสลายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป ช่วยเติมเต็มระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเแพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเต็มอากาศ AS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เป็นผลดีต่อระบบบำบัดโดยตรง
ภาพบนเป้นกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จะได้ผลลัพธ์เพิ่มมาอีกตัวก็คือ ก๊าซมีเทน ( CH4 ) ผลพลอยได้จากการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาจะได้ก๊าซมีเทนตามภาพจำลองด้านบน ก๊าซมีเทนถ้ามีเป็นจำนวนมากสามารถนำไปประยุกต์เป็นพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ ภาพบนเป็นโมเดลปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งจะส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น บทสรุปในการบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น และจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียก็จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการดำรงชีพ คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก และ กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุด จึงมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เพื่อรองรับการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานนั่นเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ไม่เพียงพอหรือมีจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยในบ่อบำบัดหรือระบบบำบัด จึงทำให้น้ำเน่าเสียปะทุขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่ระบบมีปัญหา ไม่ตอบสนองต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ระบบก็จะล้มเหลวได้ง่ายๆ เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียที่ระบบบำบัดมีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนไม่เพียงพอ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทดแทนได้ทันที เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบได้มากตามความต้องการทันที เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นจุลินทรีย์กำจัดกลิ่นหรือจุลินทรีย์ดับกลิ่น ใช้จุลินรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการคือ การบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสีย ดับกลิ่นน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัด ใช้แล้วกลิ่นหอมทันทีต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น โปรดระวังของลอกเลียนแบบ รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ต้องที่นี่.. เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆกับลูกค้าทุกๆท่านที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากที่นี่...รวมทั้งให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาเกิดขึ้นปรึกษาได้ฟรีๆ ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า แกลลอนละ 1,200 บาท
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น....
ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่.. วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่... ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่... ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่.. ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่... ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่.. ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่.. ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่.. ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า คลิกที่นี่.. ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่.. ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน คลิกที่นี่.. วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่... ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่.. เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ คลิกดูที่นี่.. ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.... จุลินทรีย์ดับกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่... จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... จุลินทรีย์หอม คลิกดูข้อมูลที่นี่.... น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม คลิกที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ คลิกที่นี่... วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. em บำบัดน้ำเสีย/ em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่... วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่... จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่... จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่... ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่... ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่... ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่... ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่... ลดค่า BOD ทำอย่างไร ? อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่.. เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่... จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...
|