จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ โดยเฉพาะ ดูความหมายของค่าพารามิเตอร์ในน้ำเสียว่ามีความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบอย่างไร
ReadyPlanet.com
ค่าพารามิเตอร์มีความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบอย่างไร

 

                  

เพิ่มค่า DO และลดค่า  BOD  ด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม Kasama ) ได้ประโยชน์ทั้งการลดค่า  BOD , SS , TDS , FOG ย่อยสลายของเสียต่างๆ และการดับกลิ่นกำจัดกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสีย

ค่าพารามิเตอร์ ( Para MeTer ) ของน้ำเสียมีความหมายและความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวชี้วัดถึงประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่และเป็นเครื่องชี้วัดถึงค่าน้ำดีหรือน้ำเสีย ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียหรือน้ำทิ้งแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไปตามที่ทางราชการกำหนดไว้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อม แต่จะมีค่ามาตรฐานน้ำดีกำหนดไว้เป็นค่ากลาง ซึ่งเป็นผลดีต่อการบริหารจัดการในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ

 เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ

ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 6 แบบหรือ 6 ระบบด้วยกัน ได้แก่  

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) 
4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge : AS )
5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)
6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)

ภารกิจและหน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของหน่วยงานต่างๆ ( งานปฏิบัติเป็นประจำของเจ้าของอาคารสำนักงานและนิติบุคคลอาคารชุดทุกๆแห่ง )

1. การบำรุงรักษาและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานอย่างต่อเนื่อง สำรวจตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบระบบเครื่องเติมอากาศให้ทำงานอย่างต่อเนื่องและอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัด

2. การเช็คค่าพารามิเตอร์ของระบบบำบัดน้ำเสีย ด้วยการดำเนินการส่งค่าน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ทุกๆเดือน ( หรือไม่น้อยกว่า 3 เดือน / ครั้ง ) โดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( บ่อก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( บ่อหลังบำบัดซึ่งเป็นบ่อน้ำดีก่อนปล่อยทิ้ง ) โดยแยกตัวอย่างเก็บไม่ให้ปะปนกัน เพื่อดูค่าพารามิเตอร์น้ำเสียก่อนบำบัด ( บ่อที่ 1 ) และหลังการบำบัดแล้ว ( บ่อสุดท้าย ) แล้วทำการบันทึกไว้อย่างเป็นข้อมูลของระบบอย่างต่อเนื่อง

ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆปฏิบัติตาม เมื่อหน่วยงานหรือองค์กร อาคารสำนักงานต่างๆมีระบบบำบัดน้ำเสียแล้วก็ต้องทำการรัน ( RUN ) ระบบที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับอาคารหรือโรงงาน เพื่อรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้น ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมาจากการใช้น้ำ ห้องน้ำ หรือไลน์ผลิต ( โรงงาน ) น้ำเสียส่วนใหญ่จะปนเปื้อนสารอินทรีย์ ส่วนน้ำเสียจากแหล่งใดจะปนเปื้อนสารอินทรีย์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นประกอบกิจการอะไร? มากหรือน้อย ล้วนส่งผลต่อน้ำเสียโดยตรงว่าจะวิกฤตมากหรือน้อยเพียงใด

     

ค่าพารามิเตอร์เกี่ยวข้องอะไรกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ?

ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสีย ( Para Meter ) ทุกๆระบบจะเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพน้ำเสียนั้นๆ ว่าน้ำเสียแหล่งนั้นวิกฤตมากหรือน้อย รวมถึงเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละแห่งโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น บ่อบำบัดน้ำเสียที่หนึ่งมีค่า pH = 3 แสดงให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีภาวะเป็นกรด ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและความคงสภาพของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆ ค่า pH ในน้ำเสียยิ่งมีน้อยมากๆ จุลินทรีย์อาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ นี้เป้นเพียงค่าพารามิเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลายๆค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับระบบบำบัดน้ำเสีย

ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานทั่วๆไป ( แต่ละแห่งกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกันออกไปตามสถานะของแหล่งน้ำเสียแต่ละแห่ง )

- pH ความหมายของค่า pH ( พีเอช ) ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-ด่าง ( เบส ) ของสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance หรือไม่เป็นกรดหรือด่าง ในน้ำเสียจึงมีการวัดค่าพารามิเตอร์ตัวนี้ ( pH )

- BOD (Biochemical Oxygen demand) คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการนำไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย น้ำที่มี BOD เกิน 100 มก./ล เป็นน้ำเสีย น้ำที่มี BOD สูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นในปริมาณที่มาก จุลินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำนั้น ( O2 ) เพื่อใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์เหล่านั้น

-COD ( Chemical Oxygen Demand ) คือ ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดทีต้องการใช้เพือออกซิเดชัน สารอินทรีย์ในนํ้ำเสียนั้นๆให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ 

- SS  สารแขวนลอย (Suspended Solids : SS) ค่าของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ โดยแขวนลอยหรือเจือปนอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ตะกอนดินทราย หรือสิ่งสกปรกที่ทิ้งหรือระบายลงสู่แหล่งน้ำ

TDS  (Total Disolved Solids) คือค่ารวมของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- TKN ( N ) TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของ ไนโตรเจนอินทรีย์และ แอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์

- FO4 ( ค่าฟอสฟอรัส )

- S ( Sulfide : ค่าซัลไฟด์ในน้ำเสียเกิดจากปฏิกิริยารีดักชั่นของจุลินทรีย์กับซัลเฟต )

- DO ( Dissolved Oxygen : DO ) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่ามาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดี ( น้ำดี ) โดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 5-8 ppm. 

          ฯ ล ฯ

จะเห็นได้อย่างหนึ่งว่าค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะไปเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดโดยตรง ถ้าจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณน้อย จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์แทบทุกๆตัว โดยเฉพาะค่า  BOD , COD , SS , TDS, ยิ่งในน้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนในปริมาณที่สูง ยิ่งส่งผลให้ค่า BOD สูงตามไปด้วย ( น้ำเสียจะมีค่า BOD > 100 ppm.) ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อบำบัดล้วนต้องการปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนหรือไม่ใช้ออกซิเจน ถ้าในบ่อบำบัดหรือในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายที่เพียงพอแล้ว จะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆแทบทุกๆค่าเข้าใกล้มาตรฐานหรือได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดไว้ แต่ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียด้อยลงทันที การแก้ไขก็ต้องเพิ่มหรือเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดนั้นๆ

การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้. -

1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพเจริญเติบโต 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ใช้วิธีการแลกอิเล็คตรอนกับสารประกอบต่างๆ )

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic  Bacteria ) ในบ่อบำบัดน้ำเสียถึงแม้ไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้อย่างต่อเนื่อง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้  จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)  
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียพบกระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ  บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการน ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี ยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์สามารถบำบัดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria) 

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)   
4. กลุ่มจุลินท
รีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) 

 จุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นตัวทำการรีไซเคิลอินทรีย์วัตถุจากซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นสารใหม่กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในหลายด้าน
5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)
 

 จุลินทรีย์หอม-Kasama เป็นการรวมกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มาใช้งานหลักๆดังต่อไปนี้ .-

1. ใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด  เช่น เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย  เติมบ่อเกรอะ 

2.  ใช้ประโยชน์ในการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ตามแหล่งต่างๆ  กลิ่นคาวจากพืชและสัตว์

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?

-  ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นบ่อเกรอะ , ย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะ  เติมบ่อเกรอะเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อเกรอะ

- ดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น,  ดับกลิ่นปัสสาวะ ,  กลิ่นมูลสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด

- ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น ทั้งกลิ่นเหม็นจากโถส้วม ชักโครกและพื้นห้องน้ำ

- ดับกลิ่นส้วมเหม็น  บ่อเกรอะเหม็น  ท่อเดรนในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำเหม็น  ท่อระบายน้ำในห้องน้ำเหม็น ถังขยะเหม็น

- ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด  ดับกลิ่นตามกรงสุนัข คอกสุนัขส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นมูลสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ทุกชนิด  เช่น ฟาร์มเป็ดฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

- ดับกลิ่นเน่าเหม็นตามตลาดและร้านอาหารทั่วไปที่มีของเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

จุลินทรีย์ของเราบรรจุแกลลอนขนาด 20  ลิตร มีเพียงขนาดเดียวคือ 20  ลิตรเท่านั้น

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่าย  แกลลอนละ  1,200  บาท 

 จัดส่งฟรีๆทั่วประเทศ  

  

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์หอมสำหรับบำบัดน้ำเสีย  จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร ฟาร์มสุนัข ฟาร์มเป็ด ฟาร์มไก่ ฯลฯ



         

ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

 

การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่..

วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่...  

ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่...

ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..

ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...

ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
 ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นรถขยะ / ดับกลิ่นรถขนขยะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

 การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..

การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

 วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่...

ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. 

สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. 

วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 

ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  คลิกที่นี่.. 

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม  คลิกที่นี่.. 

จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..  

ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน  คลิกที่นี่.. 

วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่...

ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่..

เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ  คลิกดูที่นี่..

 ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่...

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่....       

 จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูข้อมูลที่นี่... 

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์หอม  คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. 

ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม  คลิกที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ  คลิกที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น  คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่.. 

em บำบัดน้ำเสีย/  em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่..  

em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. 

em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่...  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่...

วิธีดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. 

การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...

ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...  

ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่...

ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่...

ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่...

ลดค่า  BOD  ทำอย่างไร ?  อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... 

 การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. 

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่..

เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ  คลิกที่นี่...   

จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...    

 


  

 ตัวอย่างค่าพารามิเตอร์ของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป

ค่าพารามิเตอร์ ค่ามาตรฐาน
pH 5.5-9.0
BOD 20 (500) mg/l
COD 120 (750) mg/l
TDS 3,000 mg/l
TSS 50 (200) mg/l
S ( Sulfide ) 1 mg/l
FOG ( Fat, Oil & Grease ) 5 (10) mg/l
Formaldehyde 1 mg/l
Phenols 1 mg/l
Free chlorine 1 mg/l
Color 300 (600) ADMI
Cyanides 0.2 mg/l
Odor - (ไม่เป็นทีพึงรังเกียจ) 
Temperature 40 (45) o C
DO 5-8

 

 BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) คือ ปริมาณของออกซิเจนทีแบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ในเวลา 5 วัน ทีอุณหภูมิ 20 ºซ ( ต้องวัดที่น้ำนิ่งๆไม่ไหลไปไหน )

- บีโอดีเป็นตัวชี้วัดปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำเสียนั้นๆ ปริมาณสารอินทรีย์มีมากในน้ำเสีย ค่า BOD ก็จะสูงตาม สารอินทรีย์ต่างๆมาจาก การล้าง เศษอาหาร น้ำมัน ไขมัน  ฯลฯ  สารอินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ยิ่งมีสารอินทรีย์เจือปนในน้ำมากเท่าใด ยิ่งทำให้น้ำนั้นเน่าเสียมากขึ้น


COD ( Chemical Oxygen Demand ) คือปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในนํ้ำเสียทางเคมีให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ หรือ เป็นตัวชี้วัดสารอินทรีย์ทีย่อยสลายง่ายและยาก รวมทั้งสารอนินทรีย์บางชนิด เช่น ไนเตรท คลอไรด์ ซัลไฟด์  นิยมใช้ค่าพารามิเตอร์ตัวนี้เพราะใช้เวลาวัดเพียง 2-3 ชม.เท่านั้น

DO ( Dissolved Oxygen : DO ) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่ามาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดี ( น้ำดี ) โดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 5-8 ppm.

อีกค่าหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ TOC (Total Organic Carbon) คือค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สารอินทรีย์(ที่พื้นฐานมีคาร์บอน) ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้าเสียนั้นๆ สารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำนั้น สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ น้ำที่มีสารอินทรีย์เจอปนมากจะส่งผลให้การละลายของออกซิเจนในน้ำนั้นน้อยลง

TOC เป็นการวัดปริมาณอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยสารอนินทรีย์ (inorganic carbon) และสารอินทรีย์ (organic carbon) ที่สามารถออกซิไดซ์เปลี่ยนสภาพไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำการหาปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) บางครั้งอาจเรียกว่า  total oxidizable carbon
สารอินทรีย์ที่เจือปนหรือปนเปื้อนในน้ำจะไม่มีประจุ ทำให้ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการวัดค่าการนำทางไฟฟ้าได้ 

หลักการควบคุมหรือคอนโทรลค่า BOD และ COD ของระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป

- คอนโทรลสารอินทรีย์หรือ Organic ( BOD, COD ,  FOG : Fat , Oil & Grease ) สารอินทรีย์ทั้งหลายที่ทำให้ค่า BOD มากขึ้น ( COD ลดลง )

- คอนโทรลค่า TKN ,TSS, TDS  การกำจัดหรือลดค่า TKN , TSS , TDS อาจใช้ฟิลเตอร์ร่วมกับสารเคมีบางตัว

การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียในด้านต่างๆ   

1. ทางด้านกายภาพ   

ขนาดของบ่อบำบัด     การออกแบบระบบ  ต้องออกแบบบ่อบำบัดให้รับน้ำได้มากกว่าปกติไม่น้อยกว่า 10% ขึ้นไป การมีบ่อบำบัดหลายๆบ่อจะช่วยชะลอการไหลของน้ำเสียให้ช้าลงได้ ส่งผลดีต่อการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ ยิ่งสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ยิ่งต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายมากขึ้น การออกแบบระบบบ่อบำบัดมีผลต่อคาพารามิเตอร์บางตัว

2. ทางชีวภาพ 

 ด้วยการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อย่อยสลายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์และอนินทรีย์ทั้งหลายให้กลายไปเป็น CO2 และน้ำ ซึ่งจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS โดยตรง

3. ทางเคมี 

 ด้วยการใช้สารเคมีบางชนิดควบคุมค่าพารามิเตอร์บางตัว ( สารเคมีบางชนิดอาจเป็นพิษและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ )

การควบคุมค่าพารามิเตอร์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสีย ( Para Meter  Control )

อาจมีข้อสงสัยว่าทำไมต้องคอนโทรลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย เหตุผลก็เพื่อต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งก่อนบำบัด ( ในบ่อแรก ) และหลังการบำบัดแล้ว ( น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดให้เป็นน้ำดี ) ซึ่งค่าพารามิเตอร์จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดว่า บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีได้หรือไม่ รวมถึงจะบอกถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียในหน่วยงานนั้นๆ น้ำที่มีสีใสๆไม่ใช่น้ำที่มีคุณภาพดีเสมอไป อาจมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากก็ได้ ( เป็นน้ำเสีย )

สำหรับแนวทางในการวัดค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียในบ่อบำบัดประจำเดือน ( ในแต่ละครั้ง )

 

ให้เก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( ก่อนบำบัด ) เพื่อดูค่าพารามิเตอร์ทุกๆค่าก่อนการบำบัด เพื่อนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับบ่อสุดท้าย  และ เก็บน้ำเสียบ่อสุดท้าย ( ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ) มาวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆในห้องปฏิบัติการแล้วนำไปขึ้นเป็นรีพอร์ท ( รายงานผลการวิเคราะห์ ) ประจำเดือนในแต่ละเดือนต่อไป ( ส่งให้หน่วยงานราชการได้ ) ซึ่งจะได้รู้ถึงระบบการบำบัดน้ำเสียของหน่วยงานว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะเป็นตัวกำหนดผลว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียได้ดีมากน้อยแค่ไหน น้ำที่ปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะนั้นเป็นน้ำดีหรือยัง 

ค่าพารามิเตอร์เป็นตัวดัชนี้ชี้วัดพื้นฐานที่ต้องคอนโทรลในระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบ เช่น  ค่า ph , BOD , COD , SS , TDS , FOG , TKN , S ,DO เป็นต้น ถ้าคอนโทรลค่าพารามิเตอร์พื้นฐานเหล่านี้ได้ตามกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งได้แล้ว ( ค่ามาตรฐาน )ถือว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพดีมาก และต้องทำการคอนโทรลให้ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป 

สิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำเสียที่ไปจากอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนี่ยมต่างๆทุกๆแห่งจะมีสารอินทรีย์และตะกอนปนเปื้อนในน้ำเสียค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่า BOD , TOC , SS , TDS สูงตามไปด้วย การลดสารอินทรีย์ในน้ำเสียจากแหล่งเหล่านี้ ( ถ้าทำได้ ) จะส่งผลให้ค่า BOD และ TOC , SS , TDS ลดลงตามไปด้วย ถ้าตะกอนสารอินทรีย์มีขนาดใหญ่อาจใช้ตัวกรองของเสียและกรองตะกอนตะกรัน ( Filter ) กรองดักของเสียก่อนลงในบ่อแรก เพื่อลดค่า SS , TDS ไปในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่า BOD , COD , TOC โดยเฉพาะการฟิลดเตอร์กรองแบบละเอียดก่อนน้ำเสียลงบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะ ) การเพิ่มตัวฟิลเตอร์ในแต่ละบ่อจะช่วยลดค่า BOD , TOC , SS , TDS ไปได้มากพอสมควร ตัวฟิลเตอร์ก่อนลงในบ่อแรกอาจจะหยาบพอประมาณ เพิ่มตัวกรองสัก 2-3 ชั้น ( กรองแบบหยาบ ) ส่วนลำดับต่อไปจนถึงบ่อสุดท้ายก็สามารถเพิ่มความละเอียดมากขึ้นตามความต้องการ เป็นวิธีการลดค่าพารามิเตอร์บางตัวแบบง่ายๆ แต่จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบำบัดของระบบได้มากขึ้น ในส่วนของค่า pH สามารถปรับได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนค่าพารามิเตอร์ตัวอื่นๆ การคอนโทรลค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวผู้ดูแลระบบต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบบำบัดน้ำเสียของตัวเองพอสมควรจึงจะทำการควบคุมระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้ศาสตร์หรือความรู้ในการแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพและไม่ล้มเหลว การดูแลระบบบำบัดน้ำเสียต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นงานประจำก็ว่าได้ ระบบจึงจะไม่ล้มเหลว ปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นได้ทุกๆเมื่อและมีหลากหลายปัญหาด้วยกัน ทั้งระบบโอเวอร์โหลด ( น้ำเสียมากเกินไปที่ระบบจะรับได้ ) น้ำเสียไหลไม่ทันล้นบ่อบำบัดตลอดเวลา เพราะออกแบบผิดพลาดตั้งแต่สร้างระบบครั้งแรก ไม่ได้เผื่อ Overload ของระบบไว้ บ่อบำบัดมีจำนวนบ่อน้อยเกินไป ( โดยทั่วไปไม่ต่ำกว่า 3 บ่อหลักๆ ) และต้องมีการดูแลและบำรุงรักษาอยู่เป็นประจำ   

ตัวอย่างแบบคร่าวๆของการทำรายงานผลประจำเดือนบ่อบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผลการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์น้ำเสียและน้ำทิ้งของบ่อบำบัดน้ำเสียนิติบุคคลอาคารชุด A ประจำเดือน ..... พ.ศ.  25...

 

ค่าพารามิเตอร์ บ่อที่ 1     บ่อสุดท้าย ( น้าดี ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง หมายเหตุ
pH



BOD



COD



TDS



SS



TKN



FOG        
DO        
         
         
         
         
         
         

 

[[ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด คลิกที่นี่..]]  

 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย

 

[ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ ( จุลินทรีย์ใช้อากาศ ) กับระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ ( จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศ ]