จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ โดยเฉพาะ ((( ที่นี่...ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม )))ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด
ReadyPlanet.com
ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

บำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพ รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด ปัญหาทางเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย     

         

การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไปใช้งาน ควรมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่จะนำไปใช้งานในแต่ละด้าน การใช้เป็นและใช้ถึง ใช้อย่างถูกต้องและตรงจุด จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งานจริง

ภารกิจของเราเป็นมากกว่าการขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่นี่..เราช่วยลูกค้าแก้ปัญหาในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย แก้ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียล้มเหลว แก้ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งยากกว่าการขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งใครๆก็ขายได้ ในการแก้ปัญหาต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชนชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม , จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดหอมใช้แล้วมีกลิ่นหอมทันที สำหรับบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัดและการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น) นำไปใช้บำบัดน้ำเสีย ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที

    

จุลินทรีย์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการบำบัดน้ำเสีย ?

ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ ในขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัด ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเหล่านี้ทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ในปัจจุบันและคงตลอดไป ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายเท่านั้น จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มคือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มจุลินทรีย์ย่ยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( กลุ่มที่ 1 บน ) จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ยังให้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์กลุ่มเหล่านี้มาใช้งานในการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มนี้เหล่าเป็นหลัก ของเสียต่างๆรวมถึงน้ำเสียไม่ล้นโลกในทุกวันนี้ก็มาจากผลงานของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเหล่านี้เอง   ในการบำบัดน้ำเสียต่อไปนี้จึงจะขอกล่าวถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้ เพราะในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัดต้องใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มเหล่านี้เป็นหลัก ซึ่งยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆจากจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน ในการย่อยสลายของเสียต่างๆของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายจะมีข้อจำกัด โดยเฉพาะกับของเสียต่างๆที่มีขนาดใหญ่ก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายนานมากขึ้น อาจจะเป็นปีหรือหลายๆปีก็มี ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดจึงต้องมีการตกตะกอน และการกรองของเสียที่มีขนาดใหญ่ออกจากระบบก่อน(การบำบัดน้ำเสียขั้นแรก) คัดเอาเฉพาะของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าไปในระบบบำบัด เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายแปรสภาพของเสียต่างๆให้สลายไปตามสมการด้านล่างได้รวดเร็วขึ้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์

     

ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วน โดยเฉพาะปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน มีกี่ค่า ? ต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไร? ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบ ปัญหาทางด้านเทคนิค การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Bacteria )

ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดต้องใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเพียงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) ซึ่งยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดแทนจุลินทรีย์ย่อยสลายนี้ได้เลยจนถึงทุกวันนี้ บรรดาของเสียและน้ำเสียทั้งหลายบนโลกใบนี้จึงต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งนั้นในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายที่จะแปรเปลี่ยนรูปของสสารที่อยู่ในน้ำเสียทั้งหมดให้กลายไปเป็น  น้ำ ( H2O ) + พลังงาน ( Energy) + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ตามสมการด้านล่าง

 

  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย(บำบัดน้ำเสีย)เท่านั้น  ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์รวมถึงดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ช่วยลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ .-

1.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic  Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีชีวิตอยู่ได้โดยต้องอาศัยออกซิเจนและอาหารเป็นหลัก ขาดอากาศออกซิเจนไม่ได้ มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่กระจัดกระจายตามธรรมชาติ น้ำ ดิน และอากาศ กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้จะเป็นที่นิยมมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสีย แทบจะทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะนิยมใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ก็เป็นผลงานของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ( กลุ่มย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ) สามารถดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ง่ายจากธรรมชาติ ถ้าออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมได้ดี

2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic  Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ดำรงชีพอยู่ได้ดีในสภาวะไร้ออกซิเจน ทำปฏิกิริยาย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศออกซิเจน อยู่ได้ในที่อับอากาศหรือมีอากาศน้อยหรือไม่มีอากาศเลย จึงเหมาะกับการใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงของเสียต่างๆ โดยเฉพาะในน้ำเสียที่อยู่ก้นบ่อบำบัด ซึ่งสามารถนำมาทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จุดที่อับอากาศหรืออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงแต่มีของเสียและน้ำเสีย จะไม่ค่อยมีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆ จึงมีการนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเข้าไปทดแทนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ(บำบัดน้ำเสีย) เพื่อให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้ตามปกติ จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้จะช่วยเป็นกำลังเสริมในการย่อยสลายของเสียในจุดที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงหรือจุดที่อับอากาศออกซิเจนมีน้อยหรือไม่มีเลย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน กรณีที่ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณน้อยในระบบบำบัดน้ำเสีย

      

   จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้อย่างไร ?

ในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)ถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงหรือเป็นธรรมชาติของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ในน้ำเสียจะมีสิ่งเจือปนและปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สสารทั้งหลายทั้งมวลเหล่านี้จะต้องถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย(บำบัด) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายถือว่าเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนสุดท้ายของการแปรเปลี่ยนรูปของสสารให้หายไป และกลายไปเป็นน้ำและก๊าซต่างๆรวมถึงพลังงานตามสมการด้านล่างและด้านบน  ในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะพึ่งพาและนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียที่จะทำการบำบัด เพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเจริญเติบโตและขยายเซลล์ให้มากขึ้น เพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงเป็นที่มาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated  Sludge : AS ) เพื่อใช้บำบัดน้ำเสียที่มาจากแต่ละแหล่งดังกล่าว จุดเด่นๆของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนคือสามารถดึงจากธรรมชาติเข้าระบบบำบัดได้ง่าย แต่ต้องออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมต่างๆในระบบบำบัดและบ่อบำบัดให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( ขยายเซลล์ ) ของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ กรณีที่มีปัญหาในจุดใดจุดหนึ่งในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ยกตัวอย่างเช่น ค่า pH ในบ่อบำบัดต่ำหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ ค่า DO เป็น ศูนย์ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็สามารถตายยกบ่อได้เช่นกัน และมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในบ่อบำบัดน้ำเสีย 

                        

ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ขั้นตอนสุดท้ายจะได้ผลลัพธ์ตามสมการด้านบน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแบบสมบูรณ์ขั้นสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงแล้วการบำบัดน้ำเสียไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% ซะทีเดียว จะยังคงเหลือของเสียที่เป็นกากตะกอนละเอียดหรือตะกอนส่วนเกินบางส่วน ตะกอนส่วนเกินจะเหลือมากหรือเหลือน้อยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการย่อยสลายของจุลินทรีย์เป็นหลัก การย่อยสลายทำได้มากที่สุด อาจจะเหลือตะกอนส่วนเกินเพียงเล็กน้อยก็เป็นไปได้ และที่สุดของที่สุดของกระบวนการย่อยสลายของเสียต่างๆทุกๆชนิดก็จะเหลือเพียง น้ำ พลังงานและก๊าซต่างๆ สสารทุกๆชนิดในโลกนี้จะถูกแปรเปลี่นรูปไปเป็นเช่นนี้(ตามสมการด้านบน) ทั้งพืชและสัตว์ทุกๆชนิด ท้ายที่สุดผลลัพธ์จะออกมาตามสมการด้านบน

                 

ภาพบนเป็นโมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่พบเห็นทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศตามภาพบนนี้ พบได้ตามอาคารสำนักงานหลายๆแห่ง อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมหลายๆแห่ง ส่วนใหญ่จะใช้โมเดลนี้เป็นหลัก

โมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS

1. มีบ่อรับน้ำเสีย น้ำเสียทั้งหมดจะนำมารวมกันที่บ่อนี้ ( ยกเว้นน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกส่วนไปบำบัดในเบื้องต้นก่อนเข้าระบบรวม ) การย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในจุดนี้ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อเติมอากาศ ) บ่อนี้จะเน้นการบำบัดเบื้องต้น(การตกตะกอนหนักเบาทั้งหลายรวมกรองการใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบหลายชั้น) ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ได้ในระดับหนึ่ง

2. บ่อเติมอากาศ น้ำเสียจากบ่อที่ 1 จะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ภาพบน  ) เพื่อการการย่อยสลายของเสียต่างๆ(บำบัด)ที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นในจุดนี้หรือบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่อยู่ที่ปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในบ่อนี้เป็นหลัก ถ้าปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นได้มากและมีประสิทธิภาพ ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มาก ของเสียต่างๆเหลือน้อยในบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายก็มีโอกาสผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสีย ต้องให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ ทั้งหมดจึงขึ้นอยู่ที่ประสิทธิภาพและปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายเป้นหลัก จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงจะไม่เกิดปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด

3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง เป็นบ่อรองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ตามภาพบน ) นำมาพักไว้ที่บ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนให้เป็นน้ำใสก่อนที่จะทำการปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป บ่อนี้จะมีตะกอนส่วนเกิน ( Excess  Sludge ) ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดน้ำหนักเบาตกตะกอนอยู่ก้นบ่อบำบัด ตะกอนส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดฝังกลบหรือไปทำปุ๋ย เพราะมี N และ P เหลือในตะกอนละเอียด หรือในบางแห่งอาจนำตะกอนส่วนเกินนี้เวียนกลับไปบำบัดและย่อยสลายซ้ำในบ่อที่ 2 หรือบ่อเติมอากาศก็สามารถทำได้ การนำตะกอนส่วนเกินไปบำบัดซ้ำหรือการนำตะกอนส่วนเกินไปย่อยสลายซ้ำก็เพื่อให้ของเสียเหลือน้อยที่สุด ( เข้าใกล้ Zero Waste ) ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น ตะกอนส่วนเกินมีประโยชน์ในกรณีที่ค่า SV 30 ในระบบมีค่าต่ำเกินกำหนด 

  หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต้องดูแลและบำรุงรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้อยูดีกินดี ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดให้จุลินทรีย์ดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในน้ำเสียต้องมีปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมากพอที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ขึ้นไป) การที่จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้จำนวนมากนั้น สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด ระบบบำบัดต้องเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ การเติมอากาศต้องกระจายได้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ไม่ใช้อากาศถึงเพียงบางจุดหรือจุดใดจุดหนึ่งของบ่อบำบัดเท่านั้น บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร เพราะจะทำให้การกระจายออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึงส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์โดยตรง น้ำที่เน่าเสียจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย น้ำจึงเกิดการเน่าเสียขึ้น จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้ จึงไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นนั่นเอง การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดให้ดีมีประสิทธิภาพก็คือ การดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดให้เจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เพราะถ้าจุลินทรีย์มีปริมาณน้อยลงหรือลดลงเมื่อใด เมื่อนั้นระบบบำบัดจะเริ่มมีปัญหาทันที ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดจะเกิดขึ้นทันที เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน เพราะของเสียต่างๆในน้ำเสียมีปริมาณมากเกินกำลังการย่อยสลายของจุลินทรีย์

เกี่ยวกับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama )

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป้นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่ในที่นี้จะเน้นใน 2 เรื่องๆหลัก คือ การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัด และการนำไปใช้บำบัดกลิ่น ( ดับกลิ่น ) ไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิดที่เกิดจากสารอินทรีย์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาทั้งการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) และการบำบัดกลิ่น ( ดับกลิ่น ) สามารถทำงาน( ทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ) ได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน  ช่วยเป็นกำลังเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดทุกๆระบบ นำไปทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักได้ทันที 

การทำงานของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในการบำบัดน้ำเสีย

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)โดยไม่ใช้ออกซิเจน ทำงานย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนหรือมีออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น ตอบโจทย์ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านบ่อยๆ การบำบัดน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ระบบบำบัดล้มเหลวบ่อย ระบบบำบัดเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึง เครื่องเติมอากาศเสียบ่อยๆ เครื่องเติมอากาศกำลังต่ำ ฯลฯ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งในบางจุดในบ่อบำบัดน้ำเสียมีปัญหาในเรื่องออกซิเจนกระจายไปไม่ถึง โดยเฉพาะก้นบ่อบำบัด จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้าไปเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียให้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วไป แก้ปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดมีปริมาณน้อย สามารถนำไปทดแทนได้ทันที

         

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนมาใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ผลจากกระบวนการย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์ตามภาพบน ระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศไทยส่วนใหญ่ ( มากกว่า 90% ) จะเป็นระบบแบบเติมอากาศ AS ( Activated  Sludge ) ตามภาพด้านล่าง

         

 ผลลัพธ์จากกระบวนการบำบัดน้ำด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ( ระบบ AS ) ภาพล่าง

         

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศก็มีจุดอ่อน คือ จุดที่เติมอากาศ ( บ่อเติมอากาศ ) ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาในจุดนี้เป็นหลัก บ่อปฏิกิริยาเติมอากาศเป็นจุดที่มีการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเกิดขึ้นมากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศ และตัวจักรสำคัญในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลาย นั่นเอง ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียล้วนอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น วัตถุประสงค์ของการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำเสียในบ่อเติมอากาศ เพื่อนำออกซิเจนไปให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตและขยายเซลล์เพื่อย่อยสลายของเสียที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตและย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆได้  จุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศจึงอยู่ในจุดนี้เอง เติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อก็มีปัญหา จุลินทรีย์ย่อยสลายมีไม่เพียงพอกับปริมาณน้ำเสียก็มีปัญหา เครื่องเติมอากาศกำลังวัตต์หรือกำลังแรงม้าต่ำก็มีปัญหา ( เติมอากาศได้ไม่มากพอ ) บางแห่งไม่มีแม้กระทั่งเครื่องเติมอากาศเลยก็มี เครื่องเติมอากาศเสียก็มีปัญหา ฯลฯ เหล่านี้คือจุดอ่อนและปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS จึงเป็นที่มาของการนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายมาทดแทนเพื่อเสริมการย่อยสลายให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในน้ำเลย ( เหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ) จึงสามารถเติมเต็มและเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายมีปริมาณน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถเติมได้ในทุกๆบ่อบำบัดตามที่ต้องการไม่มีผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดมีแต่ช่วยให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายได้ดีมากยิ่งขึ้น 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะเข้าไปย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เจือปนหรือปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ เหมือนกรณีการย่อยสลายสารอินทรีย์ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ผลจากการย่อยสลายของเสียจะทำให้ค่า  BOD, SS , TDS , FOG ลดลง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดีมากยิ่งขึ้น การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติของระบบบำบัดเดิม ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ง่ายขึ้น ปฏิกิริยาในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ไปดึงหรือแย่งออกซิเจนในน้ำเสียจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก นอกจากไม่แย่งออกซิเจนจากลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนแล้ว ในบางครั้งยังสร้างออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนอีกด้วย ( จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่สังเคราะห์แสงให้ออกซิเจนในน้ำ ) และยังให้อาหารเสริมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนอีกต่างหาก คือ N และ P จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียแบบคู่ขนานไปกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมโดยรวม จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์นี้ ( ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน) จะมีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์ ( รวบรวมให้อยู่ในที่เดียวกัน ) ขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะด้านดังกล่าว จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย เป็นกลุ่มที่ให้ประโยชน์ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม สังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้ง่ายกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก  จุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่านอกจากการบำบัดน้ำเสียแล้วยังมีคุณสมบัติในการกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้

           

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า( จุลินทรีย์หอม kasama )

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์ดับกลิ่น/กำจัดกลิ่นที่มีกลิ่นหอม

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย กับลูกค้าของเราทุกๆท่านฟรีๆ

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคการบำบัดน้ำเสียและปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียฟรีๆ

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างต่อเนื่องกับลูกค้าทุกๆท่านที่ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าอย่างต่อเนื่อง 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า( จุลินทรีย์หอม-kasama )มีที่มาอย่างไร ? 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า พัฒนามาจากจุลินทรีย์อีเอ็มหรืออีเอ็ม ( em )ทั่วๆไปนี่เอง เพียงแต่เราได้พัฒนาให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นในทุกๆมิติ ทั้งความหนาแน่นและความแข็งแรงของจุลินทรีย์ ฯลฯ ประการสำคัญคือเราได้พัฒนาให้มีกลิ่นหอมเหมาะสำหรับการใช้งานดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เพราะโดยทั่วไปจุลินทรีย์อีเอ็มจะมีกลิ่นออกไปทางเหม็นเปรี้ยวคล้ายกลิ่นซีอิ้ว ลูกค้าหลายๆท่านไม่ชอบกลิ่นของจุลินทรีย์อีเอ็ม แต่โดยเนื้อแท้ของจุลินทรีย์อีเอ็มแล้วจะไม่มีสีและไม่มีกลิ่นแต่ประการใด กลิ่นและสีที่เรารับรู้และเห็นนั้นก็คือสีและกลิ่นจากกากน้ำตาลที่เกิดจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์ของจุลินทรีย์อีเอ็มนั่นเอง ดังนั้น ทางร้านบางกอกโปรดักส์เราจึงได้พัฒนาจุดด้อยของจุลินทรีย์อีเอ็มให้กลายไปเป็นจุดเด่นๆในหลายๆด้านด้วยกัน เพื่อการใช้ประโยชน์ที่มากขึ้นนั่นเองจึงเป็นที่มาของ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า มีที่มาที่ไปเช่นนี้  จุลินทรีย์หอมคาซาม่า หรือ จุลินทรีย์หอม เป็นคำนิยมที่ลูกค้านิยมใช้ค้นหาสินค้าของทางร้านฯ ในอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซต์ของกูเกิ้ลนั่นเอง ( Google.co.th ) เป็นคำค้นหาแบบง่ายๆ แต่หาเจอง่ายและรวดเร็วมากที่สุดอีกคำหนึ่ง  ท่านลองใช้คำนี้หรือคีย์เวิร์ดนี้ คือ  จุลินทรีย์หอม หรือ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า   พิมพ์ลงไปในช่องคำค้นหาในเว็บไซต์ของ  Google.co.th  แล้วกดค้นหา  ท่านจะพบข้อมูลเว็บไซต์ของทางร้านฯขึ้นมาอันดับแรกๆหรืออันดับต้นๆในหน้าแรกทันที ซึ่งการค้นหาง่ายและรวดเร็วทันใจ เข้าสู่เว็บไซต์ของทางร้านฯได้ทันที ( Bangkokshow.com ) หรือ  Kasamashop.com ซึ่งเป็นร้านเดียวกัน

จุลินทรีย์ในโลกนี้มีหลากหลายกลุ่มและหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งประเภทมีประโยชน์ กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่มีโทษ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจัดอยู่ในกลุ่มที่มีประโยชน์และไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆด้านด้วยกัน  ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายของเสีย และการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลายที่เกิดจากสารอินทรีย์ เราได้พัฒนาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ ( จุลินทรีย์อีเอ็มหรือ EM )ให้มีกลิ่นหอมในสภาวะที่อยู่ในของเหลว จึงออกมาเป็นจุลินทรีย์หอมในที่สุด และสร้างเป็นชื่อหรือยี่ห้อของเราเป็น จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งคำว่า จุลินทรีย์เป็นชื่อกลาง ส่วนคำว่า  คาซาม่า จะเป็นชื่อแบรนด์หรือตรายี่ห้อของจุลินทรีย์หอมของเรา จุลินทรีย์หอมคาซาม่าถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  ลูกค้าจะไม่ชอบจุลินทรีย์อีเอ็มที่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว โดยเฉพาะลูกค้าชาวต่างชาติ  ดังนั้น  ทางร้านฯจึงทำการพัฒนาและออกแบบให้จุลินทรีย์อีเอ็มมีกลิ่นหอมในตัว  ใช้งานแล้วมีกลิ่นหอมทันที  เราสังเคราะห์จุลินทรีย์อีเอ็มขึ้นจากหัวเชื้อโดยตรง ไม่มีการหมักจากพืชผักหรือเปลือกส้มเปลือก หรือเปลือกมะนาวใดๆ  เราโฟกัสไปที่การใช้งานในด้านการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นเป็นหลัก  จุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีการเก่าเก็บ ( จุลินทรีย์ที่เก่าเก็บเป็นเวลานานๆจะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ) ผ่านการตรวจสอบหรือคิวซีสดใหม่เสมอทุกๆแกลลอน บรรจุให้เกินปริมาณบรรจุทุกๆแกลลอน ( บรรจุเกิน 20 ลิตรทุกๆแกลลอน ) เราให้ทั้งคุณภาพและปริมาณเกินความคาดหมายของลูกค้าอย่างแน่นอน  จึงส่งผลให้ลูกค้าประจำมีเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ  บางรายเป็นลูกค้าประจำเกิน 10 ปีขึ้นไปก็มีหลายราย ซึ่งใช้เป็นประจำและต่อเนื่องมาโดยตลอด

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายกลุ่มดังต่อไปนี้

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโชน์และมีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)  
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียพบกระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ  บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการน ำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 - assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี ยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์สามารถบำบัดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria) 

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)   
4. กลุ่มจุลินท
รีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes) 

 จุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นตัวทำการรีไซเคิลอินทรีย์วัตถุจากซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นสารใหม่กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในหลายด้าน
5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)
 

 จุลินทรีย์หอม-Kasama เป็นการรวมกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มาใช้งานหลักๆดังต่อไปนี้ .-

1. ใช้ในการบำบัดน้ำเสียตามแหล่งต่างๆ เช่น ใช้เติมบ่อบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ  เติมบ่อเกรอะ เพื่อย่อยสลายของเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆในบ่อเกรอะ ส่งลให้บ่อเกรอะหรือส้วมไม่เต็มง่าย

1.1  การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายขงเสีย  จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ได้เหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก โดยปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ใช้ออกซิเจน ทำงานย่อยสลายของเสียต่างๆได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน ในบ่อบำบัดน้ำเสียบางแห่งจะเป็นจุดอับออกซิเจนหรืออกซิเจนละลายไปไม่ถึง จึงส่งผลให้จุลินทรีย์ไม่มีการเจริญเติบโตและไม่อาศัยอยู่ในจุดที่ไม่มีออกซิเจน ทำให้ของเสียต่างๆไม่ได้ถูกย่อยสลาย ถ้ามีการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไในระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ก็จะทำให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้ทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งเป็นการเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วไปของระบบบำบัด 

2.  ใช้ประโยชน์ในการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ตามแหล่งต่างๆ  กลิ่นคาวจากพืชและสัตว์

2.2  การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นที่มีที่มาจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย จะกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นได้ดี ทั้งกลิ่นเน่าเหม็น กลิ่นคาว และกลิ่นอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติบำบัด ไม่ส่งผลกระทบและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลภาวะและมลพิษในเรื่องของกลิ่น ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก

                     

เราคือ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง ถึงมือผู้ใช้งานโดยตรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสังเคราะห์จากหัวเชื้อจุลินทรีย์ต้นฉบับโดยตรง มีความเข้มข้นและความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์สูง ไม่มีเก่าเก็บ มีความแอคทีฟสูง ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ทันที นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น ( ดับกลิ่น ) ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  แกลลอนละ  1,200 บาท

ขนาดบรรจุ แกลลอนละ  20  ลิตร

  จัดส่งฟรีๆทั่วประเทศ

พร้อมให้คำแนะนำในการบำบัดน้ำเสียฟรีๆ ปัญหาทางเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียล่มหรือมีปัญหาอื่นๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด การแก้ปัญหาระบบ ฯลฯ 

        

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร



         

ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

 

การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่..

วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่...  

ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่...

ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..

ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...

ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
 ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นรถขยะ / ดับกลิ่นรถขนขยะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

 การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..

การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

 วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่...

ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. 

สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. 

วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 

ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  คลิกที่นี่.. 

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม  คลิกที่นี่.. 

จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..  

ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน  คลิกที่นี่.. 

วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่...

ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่..

เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ  คลิกดูที่นี่..

 ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่...

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่....       

 จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูข้อมูลที่นี่... 

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์หอม  คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. 

ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม  คลิกที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ  คลิกที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น  คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่.. 

em บำบัดน้ำเสีย/  em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่..  

em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. 

em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่...  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่...

วิธีดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. 

การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...

ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...  

ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่...

ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่...

ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่...

ลดค่า  BOD  ทำอย่างไร ?  อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... 

 การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. 

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่..

เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ  คลิกที่นี่...   

จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...