จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ โดยเฉพาะ ((( ดูตัวชี้วัดน้ำดีหรือน้ำเสียดูได้เบื้องต้นจากค่า BOD )))
ReadyPlanet.com
ตัวชี้วัดน้ำดีหรือน้ำเสีย

     

                 

เพิ่มค่า DO และลดค่า  BOD  ในบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียทำให้ค่า  SS , TSของแข็งลด ส่งผลให้ค่า BOD ลดลงไปด้วย )

เรื่องราวของตัวชี้วัดค่าน้ำทิ้งจากบ่อบำบัดน้ำเสีย แบบง่ายๆในเบื้องต้น น้ำเน่าเสียวัดค่าได้จากเครื่องมือใด ? จะรูู้ได้อย่างไรว่าน้ำนั้นเป็นน้ำเน่าเสีย ? ระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่าน ขณะนี้ค่า BOD มากกว่า 100 มก./ล หรือ น้อยกว่า 100 มก./ล ?? ท่านได้ตรวจสอบหรือยัง ?

ค่า BOD > 100 mg/l  คือ น้ำเน่าเสีย ค่า DO เป็น ศูนย์ คือ น้ำเสีย 

มีเจ้าของโรงงาน เจ้าของอาคารสำนักงาน อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยม โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ หลายๆท่านยังคงสงสัยอยู่ว่า น้ำเสียที่เกิดขึ้นในองค์กรของเราวัดกันอย่างไรว่า เป็นน้ำดี ( น้ำทิ้งที่ผ่านเกณฑ์บำบัดได้มาตรฐาน) หรือ น้ำเสีย ( ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบำบัด ) ที่ไม่สลับซับซ้อนมาก ฟังแล้วเข้าใจได้ง่ายๆ  ต่อไปนี้จะอธิบายแบบภาษาที่เข้าใจได้ง่ายๆ ที่ไม่วิชาการมากจนเกินไป โดยในที่นี้จะกล่าวถึงน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมทุกๆชนิดและทุกๆขนาด โรงแรม คอนโดมิเนี่ยม อาคารสำนักงานทุกๆแห่งและทุกๆขนาด ฯลฯ ที่มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว กฎหมายบัญญัติไว้ว่า อาคารสำนักงานทุกๆแห่ง องค์กรต่างๆทั้งเล็กและใหญ่ไม่มียกเว้นแม้แต่หน่วยงานของราชการ ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นของตนเอง เพื่อทำการบำบัดน้ำเสียต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม ต้องทำการบำบัดให้เป็นน้ำดี ( ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ) ในระดับหนึ่งก่อนปล่อยทิ้ง ( ตามข้อกำหนดของทางราชการ ) ซึ่งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของแต่ละแหล่งจะไม่ค่อยเหมือนกันตามแหล่งที่มาของน้ำทิ้งนั้นๆ บางกรณีก็มีค่าเท่ากัน ( ค่าพารามิเตอร์ ) ซึ่งเขาเรียกกันว่า ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ( ก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป ) ต้องทำการบำบัดให้เป็นน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดก่อนจึงจะปล่อยทิ้งได้ ซึ่งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งต่างๆมีหลายค่าด้วยกันตามด้านล่างนี้

ค่าพารามิเตอร์ของน้ำคืออะไร ?

ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสีย ( Para Meter ) ทุกๆระบบคือ ตัวชี้วัดถึงคุณภาพน้ำเสียนั้นๆ ว่าน้ำเสียแหล่งนั้นวิกฤตมากหรือน้อย รวมถึงเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละแห่งโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น บ่อบำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่งมีค่า pH = 3 , BOD = 200 มก./ล เป็นต้น ซึ่งจะทำให้รู้ว่าน้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีภาวะเป็นกรด น้ำเน่าเสียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ( ค่า BOD เกิน 100 mg/l ) ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและความคงสภาพของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆ ค่า pH ในน้ำเสียยิ่งมีน้อยมากๆ จุลินทรีย์อาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ นี้เป็นเพียงค่าพารามิเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลายๆค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับระบบบำบัดน้ำเสีย

ค่าพารามิเตอร์พื้นฐานทั่วๆไปของน้ำ 

- pH ความหมายของค่า pH ( พีเอช ) ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-ด่าง ( เบส ) ของสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance หรือไม่เป็นกรดหรือด่าง ในน้ำเสียจึงมีการวัดค่าพารามิเตอร์ตัวนี้ ( pH ) ค่า pH ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนคือ 6-8  ถ้าค่า pH เป็น ศูนย์หรือติดลบ อาจส่งผลให้จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัดได้ง่ายๆ

- BOD (Biochemical Oxygen demand) คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการนำไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย น้ำที่มี BOD ณ 100 เป็นน้ำเสีย และถ้าน้ำมีค่า BOD < 100 mg/l เป็นน้ำเริ่มดี น้ำที่มี BOD สูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นในปริมาณที่มาก จุลินทรีย์จึงต้องใช้ออกซิเจน ( O2 ) เพื่อใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์เหล่านั้น

-COD ( Chemical Oxygen Demand ) คือ ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดทีต้องการใช้เพือออกซิเดชัน สารอินทรีย์ในนํ้ำเสียนั้นๆให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ 

- SS  สารแขวนลอย (Suspended Solids : SS) ค่าของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ โดยแขวนลอยหรือเจือปนอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ตะกอนดินทราย หรือสิ่งสกปรกที่ทิ้งหรือระบายลงสู่แหล่งน้ำ

TDS  (Total Disolved Solids) คือค่ารวมของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร ( mg/l )

- TKN ( N ) TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) หมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของ ไนโตรเจนอินทรีย์และ แอมโมเนีย-ไนโตรเจนที่อยู่ในโปรตีนของพืชและสัตว์

- FO4 ( ค่าฟอสฟอรัส )

- S ( Sulfide : ค่าซัลไฟด์ในน้ำเสียเกิดจากปฏิกิริยารีดักชั่นของจุลินทรีย์กับซัลเฟต )

- DO ( Dissolved Oxygen : DO ) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่ามาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดี ( น้ำดี ) โดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 5-8 ppm. 

          ฯ ล ฯ

จะเห็นได้อย่างหนึ่งว่าค่าพารามิเตอร์ต่างๆจะไปเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดโดยตรง ถ้าจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในระบบบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณน้อย จะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์แทบทุกๆตัว โดยเฉพาะค่า  BOD , COD , SS , TDS, ยิ่งในน้ำเสียนั้นๆมีสารอินทรีย์เจือปนในปริมาณที่สูง ยิ่งส่งผลให้ค่า BOD สูงตามไปด้วย ( น้ำเสียจะมีค่า BOD > 100 ppm.) ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อบำบัดล้วนต้องการปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนหรือไม่ใช้ออกซิเจน ถ้าในบ่อบำบัดหรือในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายที่เพียงพอแล้ว จะทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆแทบทุกๆค่าเข้าใกล้มาตรฐานหรือได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดไว้ แต่ถ้าในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียด้อยลงทันที การแก้ไขก็ต้องเพิ่มหรือเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดนั้นๆ

สรูปง่ายๆเกี่ยวกับการที่จะรู้ว่า น้ำเสียดูกันอย่างไรหรือทราบได้อย่างไรในเบื้องต้น ที่สามารถบอกได้เต็มๆว่า เป็น น้ำเสีย

ให้ดูจากค่าต่อไปนี้ ( ค่าพารามิเตอร์บางตัว )

1. ค่า BOD ทำการวัดค่าจากน้ำนั้นๆแล้ว มีค่าออกมา   มากกว่า  100 มก./ล หรือ น้อยกว่า 100 มก./ล  ซึ่งดูจากค่า BOD ในขั้นแรกก็พอทราบได้แล้วว่า เป็น น้ำดี ( น้ำทิ้งที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบำบัด )  หรือ น้ำเสีย ( น้ำที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบำบัด ) 

ถ้ากรณีที่  ค่า BOD มากกว่า  100 มก./ล คือ สรูปได้ว่า เป็น น้ำเสีย ท่านต้องทำการแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียของท่านแล้ว จนกว่าจะบำบัดน้ำเสียได้ตามข้อกำหนดของกฎหมายน้ำทิ้งกำหนดไว้ โดยปกติทั่วไป ค่า BOD มาตรฐานน้ำทิ้งจะถูกกำหนดไว้ที่ไม่เกิน  20  มก./ล ซึ่งเป็นค่ากลางของมาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ 

2. ค่า  DO  เป็นค่าพารามิเตอร์ตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เรารู้ในเบื้องต้นว่า น้ำที่เราปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นน้ำดี ( คุณภาพน้ำทิ้งได้มาตรฐานกำหนด ) หรือ น้ำเสีย  ( ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของน้ำทิ้ง ) ซึ่งจะทำให้ท่านรู้ว่าน้ำเสียที่เกิดขึ้นในหน่วยงานของเราผ่านเกณฑ์การบำบัดตามกฎหมายหรือไม่ ค่า DO ของมาตรฐานน้ำทิ้งกำหนดที่ยอมรับได้คือ ตั้งแต่  3 มก./ล  ขึ้นไป ( >= 3 ppm. ขึ้นไป ) น้ำที่เราใช้อุปโภคและบริโภคทั่วๆไป ค่ามาตรฐาน DO ที่กำหนดไว้จะอยู่ที่  6 - 9 มก./ล( มาตรฐานสูง)  ถ้าน้ำทิ้งจากบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อสุดท้ายของท่านมีค่า DO ต่ำกว่า  3 มก./ล แสดงให้รู้ว่า ประสิทธิภาพการบำบัดยังไม่ดีพอ ( ด้ยประสิทธิภาพ ) ยิ่งค่า DO ต่ำมากๆก็จะทำให้รู้ว่า น้ำเสียวิกฤตมาก ต้องทำการแก้ไขทั้งระบบ ( บ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ ) ทุกอย่างสามารถแก้ไขและปรับปรุงได้

ภารกิจและหน้าที่โดยตรงของผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของหน่วยงานต่างๆ ( งานปฏิบัติเป็นประจำของเจ้าของอาคารสำนักงานและนิติบุคคลอาคารชุดทุกๆแห่ง )

1. การบำรุงรักษาและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานอย่างต่อเนื่อง สำรวจตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบระบบเครื่องเติมอากาศให้ทำงานอย่างต่อเนื่องและอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัด

2. การเช็คค่าพารามิเตอร์ของระบบบำบัดน้ำเสีย ด้วยการดำเนินการส่งค่าน้ำเสียตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ทุกๆเดือน ( หรือไม่น้อยกว่า 3 เดือน / ครั้ง ) โดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อที่ 1 ( บ่อก่อนบำบัด ) และ บ่อสุดท้าย ( บ่อหลังบำบัดซึ่งเป็นบ่อน้ำดีก่อนปล่อยทิ้ง ) โดยแยกตัวอย่างเก็บไม่ให้ปะปนกัน เพื่อดูค่าพารามิเตอร์น้ำเสียก่อนบำบัด ( บ่อที่ 1 ) และหลังการบำบัดแล้ว ( บ่อสุดท้าย ) แล้วทำการบันทึกไว้อย่างเป็นข้อมูลของระบบอย่างต่อเนื่อง

ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆปฏิบัติตาม เมื่อหน่วยงานหรือองค์กร อาคารสำนักงานต่างๆมีระบบบำบัดน้ำเสียแล้วก็ต้องทำการรัน ( RUN ) ระบบที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับอาคารหรือโรงงาน เพื่อรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้น ไม่ว่าน้ำเสียนั้นๆจะมาจากการใช้น้ำ ห้องน้ำ หรือไลน์ผลิต ( โรงงาน ) น้ำเสียส่วนใหญ่จะปนเปื้อนสารอินทรีย์ ส่วนน้ำเสียจากแหล่งใดจะปนเปื้อนสารอินทรีย์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นประกอบกิจการอะไร? มากหรือน้อย ล้วนส่งผลต่อน้ำเสียโดยตรงว่าจะวิกฤตมากหรือน้อยเพียงใด

นี้คือเรื่องราวของ น้ำดี ( น้ำทิ้ง )  น้ำเสีย  ในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสียแต่ละแห่งที่ควรรู้ไว้ในเบื้องต้นสำหรับเจ้าของหรือผู้ประกอบการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของท่านให้ออกมาได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดไว้ น้ำเสียถือเป็นมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และพร้อมสร้างมลพิษได้ทุกเมื่อ ถ้ามีการปล่อยน้ำเสียทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม ทั้งกลิ่นเน่าเหม็น สิ่งมีชีวิตในน้ำตายเกลี้ยง ทำลายระบบนิเวศน์ ( ทำลายโลก ) ซึ่งจะย้อนกลับมาหาเราทุกคนอยู่ดี

การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

เนื่องจากจุลินทรีย์ของเราเป็นจุลินทรีย์หอม ใช้แล้วมีกลิ่นหอมทันที ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบในประเทศไทย ในการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปบำบัดน้ำเสียนั้นต้องดูปริมาณน้ำเสียว่ามีปริมาณกี่คิวหรือกี่ ลบม. และจะใช้ในจุดใดบ้างจึงจะเหมาะสม แต่โดยทั่วๆไปของระบบบำบัดน้ำเสียจะใช้จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียในจุดที่ 1 หรือบ่อที่ 1 นั่นเอง ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำเสียเป็นจุดแรกหรือบ่อแรก ถ้าน้ำเสียนั้นมีตะกอนจำนวนมากก็ควรใช้ฟิลเตอร์กรองหรือดักตะกอนไม่ให้ลงในบ่อน้ำเสีย เพื่อลดค่า SS ไปในตัว ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียเป็นแบบเติมอากาศ จะมีบ่อรองรับน้ำเสียอย่างน้อย 3 บ่อด้วยกัน ให้เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อแรก  บ่อที่ 2 เป็นบ่อเติมอากาศ ส่วนบ่อที่ 3 เป็นบ่อพักน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม  อัตราส่วนการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า  1-2 ลิตร ต่อ 1 คิวน้ำเสีย หรือเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นได้ตามความเหมาะสม กรณีที่น้ำเสียวิกฤตมาก โดยการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-kasama ) ลงในบ่อบำบัดเสียบ่อแรก อัตราส่วนจุลินทรีย์ : น้ำเสีย  1-2 ลิตร ต่อ น้ำเสีย 1 คิวหรือ 1 ลบม. (กรณีที่ไม่วิกฤตมาก ) แต่ถ้ากรณีที่น้ำเสียวิกฤตมากๆ ควรเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากขึ้นตามปัญหา  ควรหมั่นเติมจุลินทรีย์เรื่อยๆ เพื่อให้ระบบการย่อยสลายมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียอย่างน้อยเดือนละครั้ง ถ้าเป็นไปได้สัปดาห์ละครั้งยิ่งเป็นการดีต่อระบบ ซึ่งจะส่งผลทำให้จุลินทรีย์ในระบบไม่ลดน้อยลง เพราะโดยทั่วไปจุลินทรีย์ในระบบบางส่วนจะสลายไปตามธรรมชาติ ในขณะที่ของเสียเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จุลินทรีย์มีปริมาณน้อยอาจย่อยสลายไม่ทัน จึงส่งผลให้ระบบมีปัญหา เกิดน้ำเสียมากขึ้น ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องพึ่งจุลินทรีย์ด้วยการเติมจุลินทรีย์เข้าไปในระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียดังกล่าว

บำบัดน้ำเสียอย่างไรให้ได้ผลดี ? 

วัตถุประสงค์ของการบำบัดน้ำเสีย เพื่อเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม เพราะถ้าปล่อยน้ำเสียทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะก็จะสร้างมลภาวะทั้งกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียและปัญหาอีกหลายอย่างที่ติดตามมาในภายหลัง ดังนั้น ถ้ามีน้ำเสียต้องทำการบำบัดก่อนปล่อยทิ้ง ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆเป็นหน้าที่โดยตรงของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ทั้งนั้นในการบำบัด ไม่มีเว้นแม้กระทั่งเคมีบำบัด ขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องพึ่งจุลินทรีย์อยู่ดี ในการบำบัดน้ำเสียให้ได้ผลดีนั้นต้องทำให้ถึง ทั้งการเติมจุลินทรีย์ให้กับระบบบำบัดต้องไม่น้อยหรือต้องมากกว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริงจึงจะได้ผลดีระบบจึงจะมีประสิทธิภาพ และต้องมีความต่อเนื่อง ( เติมจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่องเมื่อปริมาณจุลินทรีย์ลดลง ) จะมีจุลินทรีย์บางส่วนที่จะสลายไปตามธรรมชาติ การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์อยู่เรื่อยๆเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องการให้ระบบบำบัดน้ำเสียสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้ได้ดี ถ้าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศก็ให้เติมอากาศอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียระหว่างกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์อีเอ็ม หรือ em )

                         

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม-Kasama ) จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?

-  สำหรับย่อยสลายของเสียในน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียในอาคารหรือโรงงานทุกๆแห่ง ใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ

- ดับกลิ่นบ่อเกรอะ , ย่อยสลายของเสียในบ่อเกรอะ , เติมบ่อเกรอะเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์

- ดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็น,  ดับกลิ่นปัสสาวะ ,  กลิ่นมูลสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด

- ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น ทั้งกลิ่นเหม็นจากโถส้วม ชักโครกและพื้นห้องน้ำ

- ดับกลิ่นส้วมเหม็น  บ่อเกรอะเหม็น  ท่อเดรนในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำเหม็น  ท่อระบายน้ำในห้องน้ำเหม็น ถังขยะเหม็น

- ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด  ดับกลิ่นตามกรงสุนัข คอกสุนัขส่งกลิ่นเหม็น

- ดับกลิ่นมูลสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ทุกชนิด  เช่น ฟาร์มเป็ดฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกรส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

- ดับกลิ่นเน่าเหม็นตามตลาดและร้านอาหารทั่วไปที่มีของเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

จุลินทรีย์ดับกลิ่น ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  แกลลอนละ  1,200 บาท 

จัดส่งฟรีๆทั่วประเทศ ขนาดบรรจุแกลลอนละ 20 ลิตร  

        

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร



         

ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

 

การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่..

วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่...  

ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่...

ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..

ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...

ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
 ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นรถขยะ / ดับกลิ่นรถขนขยะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

 การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..

การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

 วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่...

ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. 

สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. 

วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 

ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  คลิกที่นี่.. 

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม  คลิกที่นี่.. 

จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..  

ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน  คลิกที่นี่.. 

วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่...

ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่..

เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ  คลิกดูที่นี่..

 ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่...

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่....       

 จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูข้อมูลที่นี่... 

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์หอม  คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. 

ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม  คลิกที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ  คลิกที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น  คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่.. 

em บำบัดน้ำเสีย/  em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่..  

em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. 

em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่...  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่...

วิธีดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. 

การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...

ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...  

ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่...

ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่...

ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่...

ลดค่า  BOD  ทำอย่างไร ?  อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... 

 การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. 

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่..

เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ  คลิกที่นี่...   

จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...