
![]() |
ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชนชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานทั่วๆไป ทั้งของภาครัฐและเอกชน และระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมทั่วๆไป ส่วนใหญ่ ( มากกว่า 90% ) เป็นแบบเติมอากาศลงในน้ำเสียหรือระบบ AS ( Activated Sludge : AS ) ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ระบบบำบัดน้ำเสียแทบทุกแห่งจะเป็นระบบแบบเติมอากาศแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงานหรือคอนโดมิเนี่ยม ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ยังแยกไปได้อีกหลายแบบด้วยกัน แต่จุดที่เหมือนกันของระบบ AS ก็คือ ต้องมีบ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน เป็นอย่างน้อยในระบบ ( เหมือนตัวอย่างภาพบน ) เป็นระบบแบบง่ายๆ ลงทุนไม่มากจนไปถึงมากก็มี ( แบบพิเศษ ) การดูแลและรักษาก็ทำได้ง่าย การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบแบบเติมอากาศนี้ ( AS )หัวใจหลักหรือตัวจักรสำคัญมากที่สุดของระบบก็คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ถ้าปราศจากกลุ่มจุลินทรีย์นี้แล้ว น้ำเสียและของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะไม่ถูกบำบัดและย่อยสลายใดๆเลย ดังนั้น ที่สร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นมาก็เพื่อรองรับน้ำเสียและสร้างสภาวะแวดล้อมให้กลุ่จุลินทรีย์มารวมกันในจุดนี้เพื่อทำประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย การออกแบบระบบต้องเหมาะสมเข้ากับพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่จุลินทรีย์ย่อยสลายจะเจริญเติบโตได้ดีรองรับน้ำเสียได้ดี การดูแลและบำรุงรักษาระบบ ( รักษาจุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพดี ) ต้องทำเป็นประจำและต่อเนื่องถือเป็นงานหลัก ระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง หมั่นตรวจเช็คค่าต่างๆ ( ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ) เป็นประจำวัน ประจำเดือน ทำเป็นรายงานประจำเดือนทุกๆเดือน การบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมจะมีลักษณะคล้ายๆกันกับการบำบัดน้ำเสียสำหรับอาคารสำนักงานทั่วๆไป ( แต่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาจจะแตกต่างกันไปตามขนาดของห้องและพื้นที่ใช้สอยของอาคาร ) น้ำเสียในอาคารชุดและอาคารสำนักงานจะแยกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้.- 1. น้ำเสียที่ไปจากกิจกรรมน้ำใช้ต่างๆ เช่น การซักล้าง อาบน้ำ และอื่นๆ ( ที่ไม่ใช่ไปจากส้วมหรือชักโครก ) 2. น้ำเสียที่ไปจากส้วมหรือชักโครก ซึ่งมีสิ่งปฏิกูลจำนวนมาก ทั้งตะกรันและตะกอนหนักเบาเจือปนอยู่ในน้ำเสีย ต้องทำการแยกไปลงที่บ่อเกรอะรวม ( ของอาคารชุดหรืออาคารสำนักงาน ) และทำการบำบัดอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อม น้ำเสียจากข้อ 1 และข้อ 2 ต้องแยกกันบำบัดจะไม่ลงไปรวมในบ่อบำบัดเดียวกัน แต่อาคารบางแห่งโดยเฉพาะรุ่นเก่าๆจะมีการนำน้ำเสียทั้ง 2 จุดนี้มารวมอยู่ในบ่อเดียวกัน ซึ่งจะเกิดปัญหามาก ทั้งในเรื่องกลิ่นและการบำบัดก็ทำได้ไม่สมบูรณ์ จะมีปัญหาความยุ่งยากในเรื่องการบำบัดน้ำเสียในกรณีนี้ ระบบบำบัดก็ล้มเหลวได้ง่ายๆ ดังนั้น จึงต้องแยกบ่อบำบัดและบ่อรับน้ำเสียคนละบ่อกันจึงจะไม่เกิดปัญหา ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ในอาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมและอาคารสำนักงานจะทำงานย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียตลอดระยะเวลาที่มีน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์จากการบำบัดน้ำเสียจะเป็นไปตามภาพด้านล่างนี้ การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารชุดและอาคารสำนักงานทั่วๆไป ต้องมีผู้รับผิดชอบและดูแลระบบอย่างใกล้ชิด ( ถือเป็นงานประจำ ) การตรวจเช็คระบบประจำวัน ประจำเดือน การตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทั้งประจำวันและประจำเดือน เช่น ค่า BOD , DO ในแต่ละวัน ซึ่งจะทำให้เราทราบความเป็นไปของระบบบำบัดว่ายังมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่ ถ้ากรณีที่ค่า BOD เริ่มสูงผิดปกติแล้ว และค่า DO ต่ำสุดๆ ต้องทำการรีบแก้ไขทันที การทำรายงานผลของระบบแต่ละวัน แต่ละเดือนเป็นเรื่องที่ดีและเป็นสิ่งที่ควรปฏืบัติเป็นประจำ ระบบบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่ในจุดนี้ ผู้ที่ดูแลและรับผิดชอบระบบบำบัดน้ำเสียต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบพอสมควร จึงจะดูแลและรักษาระบบได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ จุดอ่อนหรือจุดด้อยของระบบ AS คือ การเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด( พบมากที่สุด ) โดยเฉพาะบ่อบำบัดที่มีความลึกมาก ( บ่อเติมอากาศไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร) อากาศออกซิเจนจะกระจายไปไม่ทั่วถึงก้นบ่อและรอบๆบ่อบำบัด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณและความหนาแน่นของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุดใดที่อากาศไปไม่ถึง จุดนั้นก็จะมีจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยหรือแทบไม่มีเลย ของเสียต่างๆก็จะยังไม่ได้รับการบำบัดย่อยสลายก่อนที่จะผ่านไปบ่อสุดท้าย ( บ่อตกตะกอนและบ่อพักน้ำทิ้ง ) ส่งผลให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งอยู่บ่อยๆ ปัญหาจากเครื่องเติมอากาศกำลังต่ำ ( กำลังวัตต์หรือแรงม้าต่า ) ทำให้เติมอากาศได้ไม่เต็มที่ อากาศออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียมีปริมาณน้อย ส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักน้อยตามไปด้วย การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียก็เกิดขึ้นน้อยตามไปด้วย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ปัญหาส่วนใหญ่ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศจะเกิดปัญหาขึ้นในจุดเติมอากาศนี้มากที่สุด เพราะบ่อเติมอากาศเป็นจุดที่ปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นมากที่สุด ถ้าบ่อเติมอากาศไม่มีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งก็ไม่ผ่านเกณฑ์อย่างแน่นอน นี่คือจุดอ่อนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศบางส่วน แก้ไขได้หรือไม่ ? สามารถแก้ไขได้ แต่ต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคค่อนข้างมาก ต้องดูปัญหาในภาพรวมและแก้ไขแบบบูรณาการ ภาพบนเป็นการประยุกต์ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศร่วมกับการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเข้าไปแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง จากภาพบนจะเห็นได้ว่า บ่อที่ 1 ( บ่อรับน้ำเสีย ) ตามปกติจะเป็นบ่อรับน้ำเสียและตกตะกอนของเสียในขั้นต้น แต่จากภาพจะมีการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อที่ 1 เพื่อทำการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในขั้นที่ 1 การย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าในน้ำเสียจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียมาทำปฏิกิริยา เมื่อย่อยสลายเสร็จก็จะผ่านไปบ่อย่อยสลายของเสียบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) จะทำการย่อยสลายของเสียซ้ำเพิ่มเติมจนของเสียต่างๆในน้ำเสียเหลือน้อย ( ตะกอนเหลือน้อย ) ก่อนที่น้ำทิ้งจากการบำบัดในบ่อเติมอากาศจะผ่านเข้าไปบ่อตกตะกอน ( บ่อพักน้ำทิ้ง ) การเช็คค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะเช็คในบ่อสุดท้ายก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นใน 2 จุดหรือ 2 บ่อบำบัดด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้น ( Double Treatment ) ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น การย่อยสลายของเสียทำได้มากขึ้น ดังนั้น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งต่างๆก็จะผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น จุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็คือ ไม่ดึงออกซิเจนหรือไม่แย่งออกซิเจนในน้ำเสียจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำงานย่อยสลายของเสียแบบคู่ขนานกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี กรณีที่อยู่กลางแจ้งจุลินทรีย์หอมคาซาม่ายังสามารถเพิ่มออกซิเจนในน้ำจากการสังเคราะห์แสงของจุลินทรีย์บางสายพันธุ์ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ภาพบนเป็นปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) ทั้งสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในธรรมชาติ และทั้ง 2 กลุ่มนี้มีรวมกันอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10 % อีก 10% เป็นกลุ่มจุลินรีย์ที่ให้โทษ และอีก 80% เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลางเข้าร่วมงานกับกลุ่มจุลินทรีย์ใดก็ได้ การย่อยสลายของเสียต่างๆรวมทั้งน้ำเสียบนโลกใบนี้ ต้องอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายกลุ่มนี้ ทั้งชนิดใช้ออกซิเจและไม่ใช้ออกซิเจนล้วนให้ประโยชน์กับโลกใบนี้ทั้งสิ้น ช่วยดูแลรักษาโลกและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ( ทำงานย่อยสลายของเสีย ) ซึ่งเป็นการลดภาระการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จากภาพบนจะเห็นได้ว่า เมื่อเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อน้ำเสียบ่อที่ 1 ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียเกิดขึ้นทันทีก่อนที่จะผ่านต่อไปยังบ่อเติมอากาศ( บ่อที่ 2 ) จะเห็นได้ว่าการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในน้ำเสียเกิดขึ้นสองชั้น ( Double Treatment ) ของเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายเร็วขึ้น ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อตกตะกอนลดลง ( บ่อที่ 3 ) ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านได้ง่ายขึ้น ตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) ก็จะน้อยลง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียให้ดีมากยิ่งขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงถูกปฏิกิริยาย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มในบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ตามลำดับ ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน( สีฟ้าบน) และกลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ใช้ออกซิเจน (สีเขียวอ่อนด้านล่าง ) ของเสียและน้ำเสียจะแปรเปลี่ยนรูปไปเป็นตามสมการนี้ ==> น้ำ + พลังงาน + CO2 +CH4 ยิ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆได้ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ 100 % จะเหลือสสารตามสมการนี้ ==>> น้ำ + พลังงาน + CO2 +CH4 จะเห็นได้ว่าจากปฏิกิริยาการย่อยสลายที่สมบูรณ์ของจุลินทรีย์ย่อยสลายจะไม่เหลือของเสียเลย แต่ในความเป็นจริงย่อยสลายได้ไม่หมดสมบูรณ์ 100% อาจจะมีตะกอนละเอียดตกค้างบ้างบางส่วน ถ้าจะให้สมบูรณ์ 100% ต้องบำบัดซ้ำหลายๆครั้งและหลายๆชั้นการบำบัด ซึ่งค่อนข้างยากไปอีกขั้นหนึ่ง ต้องใช้งบลงทุนค่อนข้างสูง เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจากที่นี่ ท่านจะได้ที่ปรึกษาฟรีๆ ให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคต่างๆในระบบบำบัดน้ำเสียฟรีๆ ตลอดระยะเวลาที่สั่งซื้อ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งคำปรึกษา ช่วยประหยัดงบประมาณค่าที่ปรึกษาในแต่ละครั้ง
ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
|