
![]() |
บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชนชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด บรรดาสสารที่เป็นของเสียทั้งหมดทั้งมวลในโลกนี้แปรสภาพสลายไปเป็นน้ำ พลังงาน และก๊าซ ก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยตรง ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วน โดยเฉพาะปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน มีกี่ค่า ? ต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไร? ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบ ปัญหาทางด้านเทคนิค การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น ตัวแปรที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ( ไม่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบใดก็ตาม ) คือ การบำบัดน้ำเสียที่มีของเสียเจือปนอยู่ในน้ำเสียเหลือน้อยมากที่สุด ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ดีที่สุด ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่าตลอดเวลาทุกๆครั้งที่มีการตรวจเช็คน้ำทิ้งในระบบบำบัด บำบัดน้ำเสีย/การบำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียนั้น มีหลากหลายกรรมวิธีด้วยกัน มีทั้งการบำบัดทางกายภาพ การใช้เคมีบำบัดและการบำบัดทางชีวภาพ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการบำบัดน้ำเสียในทางชีวภาพ เพราะถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในทางชีวภาพก็คือ การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย โดยเฉพาะสารอินทรีย์ต่างๆ และจุลินทรีย์ที่ใช้นำมาย่อยสลายของเสียต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ตาม ถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ในด้านการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งนั้น ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น ตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดจึงอยู่ที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้เป็นหลัก ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียใดขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายหรือจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีปริมาณน้อยมีปัญหาติดตามมาอย่างแน่นอน การที่จะให้น้ำเสียถูกบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพดีนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียต้องพร้อมทุกๆด้าน จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต้องมีพร้อมและมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ ในการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆแบบให้เลือกใช้งานตามความเหมาะ และทุกๆระบบบำบัดต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี การบำบัดน้ำเสีย & ระบบบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป นิยามของน้ำเสีย น้ำเสีย ( Waste Water ) คือ น้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วและมีมลสารสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้น จำเป็นจะต้องได้รับการบำบัดก่อนที่จะนำมาใช้ใหม่ ( Reuse )หรือปล่อยทั้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะต่อไป น้ำเสียเกิดขึ้นมาจาก 2 แหล่งด้วยกัน คือ 1. น้ำเสียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั่วๆไป 2. น้ำเสียที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้มากจากธรรมชาติ เช่น จากกิจกรรมของมนุษย์ จากสัตว์เลี้ยงต่างๆ เป็นต้น แหล่งที่มาของน้ำเสียในข้อ 2 1. น้ำเสียจากแหล่งชุมชุนต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงานทั่วๆไป 2. น้ำเสียจากภาคการเกษตรและฟาร์มปศุสัตว์ 3. น้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การกำจัดหรือทำลายสิ่งเจือปนหรือปนเปื้อนในน้ำเสียนั้นๆให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุด และให้ได้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ ไม่ทำให้เกิดมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม กระบวนการบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีด้วยกัน โดยทั่วไปกระบวนการบำบัดน้ำเสียมี 3 วิธีดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ (physical process) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียแบบง่ายๆในเบื้องต้น เช่น การกรองของเสีย การตกตะกอนของเสียต่างๆการแยกขยะ กาก ตะกอนต่างๆออกจากน้ำเสียในเบื้องต้น 2. กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมี (chemical process) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้วิธีทางเคมี เช่น การกำจัดของเสียสิ่งเจือปนในน้ำเสียบางชนิดด้วยวิธีการทางเคมี หรือ การกำจัดของเสียที่เป้นสารเคมีให้เป็นกลาง 3. กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพหรือชีววิทยา (Biological Process) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียและกำจัดของเสียด้วยการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพที่มีอยู่ในธรรมชาติมาบำบัด ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีทั้งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic Bacteria )และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) ที่มีอยู่กระจัดกระจายในธรรมชาติทั่วๆไป ทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ขั้นตอนหรือกระบวนการบำบัดน้ำเสียในแต่ละขั้น แบ่งได้ดังต่อไปนี้ 1. การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) และการบำบัดเบื้องต้น (Primary Treatment) เป็นการบำบัดน้ำเสียทางด้านกายภาพด้วยการใช้อุปกรณ์ต่างๆกรองของเสียต่างๆทั้งหมดออกจากระบบ โดยส่วนใหญ่ของเสียจะเป็นขยะและสิ่งเจือปนอยู่ในน้ำเสีย ทั้งเล็กและใหญ่ ไขมันและน้ำมันต่างๆ การบำบัดในขั้นต้นนี้จะช่วยกำจัดสารอินทรีย์ต่างๆที่อยู่ในรูปของ BOD ลดลงประมาณ 25% - 40 % 2. การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment) เป็นขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียที่มีการกำจัดของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นด้วยการใช้จุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายมากำจัดของเสียต่างๆ ขั้นตอนนี้จะเกิดการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นมากที่สุด 3. การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment) เป็นการบำบัดน้ำเสียและกำจัดของเสียที่ไม่ต้องการออกจากระบบ เช่น แร่ธาตุต่างๆ ( ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ) และสารบางชนิดที่กำจัดยากออกจากระบบบำบัด ซึ่งยังไม่ผ่านการบำบัดในขั้นที่สองอย่างสมบูรณ์ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่มีการนำน้ำเสียมาเข้าสู่ระบบที่ออกแบบไว้แล้ว เพื่อทำการบำบัดน้ำเสียและกำจัดของเสียที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆออกให้ได้มากที่สุด ( ของเสียเหลือน้อยที่สุด ) ก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมสาธารณะหรือนำกลับไปใช้อีกครั้ง 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
ระบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 6 แบบนี้ทั้งหมดล้วนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายในการบำบัดน้ำเสียทั้งหมด ความหมายก็คือ ทุกๆระบบล้วนอาศัยจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดนั่นเอง ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียแล้ว ระบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 6 ระบบนี้ก็ไม่มีความหมายหรือความสำคัญอะไรอีกต่อไป ( ไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ ) ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศ AS ( Activate Sludge ) คือ การเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียนั่นเอง เพื่อให้น้ำเสียนั้นๆมีออกซิเจนมากพอที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียนำไปใช้ในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์และทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย การบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในธรรมชาติจะใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ดังนั้น ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบใดๆก็ตาม ( ในทั้งหมด 6 แบบ ) จะขาดออกซิเจนไม่ได้หรือมีออกซิเจนน้อยเกินไประบบก็จะมีปัญหาทันที ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) ส่วนจะเลือกระบบบำบัดน้ำเสียแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ทั้งพื้นที่ และงบประมาณ แหล่งที่มาของน้ำเสีย เป็นต้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ หรือการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ จะใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจน และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยายย่อยสลายของเสีย แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน ) นำไปใช้ในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย
อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นระบบแบบเติมอากาศ ( มากกว่า 90% ) ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก หรือระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ( Activated Sludge ) นั่นเอง ซึ่งระบบ AS จะมีลักษณะเด่น ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) การทำงานของระบบนี้ น้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสสารตะกอนเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากในน้ำเสีย จุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนจะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียแปรสภาพให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานและน้ำ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดในบ่อเติมอากาศแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนออกจากน้ำใส ตะกอนส่วนเกินที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติมอากาศใหม่เพื่อรักษาความเข้มข้นของตะกอนในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นตะกอนส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องนำไปกำจัดทิ้งต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ ภาพบนตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS เติมอากาศ ซึ่งมีการแยกย่อยเป็นแบบ 1. แบบคลองวนเวียน ( Oxidation Ditch : OD ) น้ำเสียเข้าระบบคลองวนเวียน ( ตามภาพล่าง ) ==>> ไปยังถังเติมอากาศเพื่อย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน น้ำเสียจะไหลวนเวียนบำบัดในคลองวนเวียน แล้วผ่านไปยังถังตกตะกอน ( บ่อพักน้ำทิ้ง ) ในบ่อตกตะกอนนี้ตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) จะถูกนำไปกำจัดทิ้งฝังกลบหรือนำไปเป็นปุ๋ยพืชผัก และอีกบางส่วนจะเวียนกลับไปบำบัดซ้ำในขั้นตอนน้ำเสียเข้า ( ตามภาพ ) 2. แบบกวนสมบูรณ์ ( Completly Mix ) ระบบนี้ต้องมีถังเติมอากาศกวนน้ำเสียและตะกอนให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกันทั่วทั้งถังบำบัดเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ทั่วทั้งถังบำบัด น้ำเสียเข้าบ่อเติมอากาศ(ถังเติมอากาศ ) เพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน แล้วผ่านไปยังถังตกตะกอนขั้นที่ 2 ก่อนปล่อยทิ้ง จะมีตะกอนส่วนเกินบางส่วนตกตะกอนอยู่ก้นถัง และนำไปกำจัดทิ้ง บางส่วนนำเวียนกลับไปบำบัดซ้ำอีกครั้ง ( ตามภาพ )
3. แบบปรับเสถียรสัมผัส ( Contact Stabilization Process ) ระบบบำบัดน้ำเสียนี้จะมีลักษณะเด่นตรงที่มีถังเติมอากาศแบบอิสระแยกกัน 2 ถัง ( ถังสัมผัส และ ถัง ย่อยสลาย ) น้ำเสียเข้าสู่ระบบถังสัมผัส ( Contact Tank ) เติมอากาศเพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆ ก่อนที่จะผ่านไปยังถังตกตะกอนขั้นที่ 2 เป็นน้ำทิ้ง และตะกอนส่วนเกินก้นบ่อนำไปกำจัดทิ้ง และบางส่วนนำกลับเข้าถังย่อยสลายเติมอากาศ ( ตามภาพล่าง ) แล้วนำกลับไปยังถังสัมผัสย่อยสลายของเสียซ้ำอีกครั้ง 4. แบบเอสบีอาร์ ( Sequencing Batch Reactor : SBR ) น้ำเสียเข้าบ่อรับน้ำเสียบ่อที่ 1 ( ตามภาพล่าง ) แล้วเข้าไปบำบัดและย่อยสลายของเสียในบ่อเติมอากาศ ก่อนที่จะไปยังบ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนส่วนเกิน แล้วผ่านไปยังบ่อระบายน้ำทิ้ง ส่วนหนึ่งจะเป็นน้ำทิ้งออกสู่สาธารณะและอีกส่วนหนึ่งจะไปยังบ่อพักระบบ ระบบนี้จะเป็นระบบประเภทเติมเข้า-ถ่ายออก (Fill-and-Draw ) โดยมีขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียแตกต่างจากระบบตะกอนเร่งแบบอื่น ๆ คือ การเติมอากาศ (Aeration) และการตกตะกอน (Sedimentation) จะดำเนินการเป็นไปตามลำดับภายในถังปฏิกิริยาเดียวกัน การเดินระบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ 1 รอบการทำงาน ( 1 Cycle) จะมี 5 ช่วงตามลำดับ ดังนี้ 1. ช่วงเติมน้ำเสียเข้าระบบ ( Fill ) 2. ช่วงทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( React ) เป็นช่วงที่จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายสสาร ซึ่งจะไปลดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ( ลด BOD ) 3. ช่วงตกตะกอน ( Settle ) ทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ตกลงใต้ก้นถังปฏิกิริยา 4. ช่วงระบายน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว ( Draw ) 5. ช่วงพักระบบ ( Idle ) เพื่อซ่อมแซมระบบหรือรอรับน้ำเสียที่จะมาใหม่ การเดินระบบแบบเอสบีอาร์สามารถเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในแต่ละช่วงได้ง่าย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการบำบัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์
ผลลัพธ์จากปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS ) ทุกๆระบบจะได้ผลลัพธ์ตามสมการด้านล่างนี้ การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS นี้ ระบบก็ไม่ได้สมบูรณ์ 100% ยังมีจุดอ่อนหรือจุดด้อย ในกรณีที่การบริหารจัดการไม่ถึงหรือไม่เป็น หรือการดูแลและบำรุงรักษาระบบยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ โดยเฉพาะจุดที่เป็นหัวใจของระบบ นั่นก็คือ จุดเติมอากาศหรือบ่อเติมอากาศ ซึ่งเป็นจุดที่ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นมากที่สุด ถ้าผิดพลาดหรือมีปัญหาในเรื่องการเติมอากาศไม่ทั่วถึงทั้งบ่อ จะส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีน้อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบำบัดน้ำเสียทันที ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษาระบบอย่างใกล้ชิดเป็นประจำ ตรวจสอบค่าน้ำทิ้งเป็นประจำวัน ( บางค่า ) และประจำเดือนในบางค่า เพื่อให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่มีปัญหาเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศจะมีปัญหาในจุดนี้มากที่สุดและพบเป็นประจำ โดยเฉพาะการเติมอากาศไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งต่างๆที่ไม่ผ่านก็มาจากจุดนี้ ของเสียต่างๆในน้ำเสียถ้าถูกย่อยได้สลายมากที่สุด ( เหลือของเสียน้อยมาก ) ก็จะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ ประเด็นสำคัญก็คือ อย่าให้ปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีน้อยกว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียทันที ภาพบนเป็นโมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่พบเห้นทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศตามภาพบนนี้ พบได้ตามอาคารสำนักงานหลายๆแห่ง อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมหลายๆแห่ง ส่วนใหญ่จะใช้โมเดลนี้เป็นหลัก คือ 1. มีบ่อรับน้ำเสีย น้ำเสียทั้งหมดจะนำมารวมกันที่บ่อนี้ ( ยกเว้นน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกส่วนออกไปต่างหาก ) การย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในจุดนี้ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อเติมอากาศ ) บ่อนี้จะเน้าการตกตะกอนหนักเบาทั้งหลายรวมกรองการใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบหลายชั้น ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ได้ในระดับหนึ่ง 2. บ่อเติมอากาศ น้ำเสียจะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ภาพบน ) เพื่อการการย่อยสลายของเสียต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นในจุดนี้หรือบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่อยู่ที่ปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในบ่อนี้เป็นหลัก ถ้าปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นได้มาก ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มาก ของเสียต่างๆเหลือน้อยในบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายก็มีโอกาสผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์จึงอยู่ที่ประสิทธิภาพและปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลาย จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงจะไม่เกิดปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด 3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง เป็นบ่อรองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ตามภาพบน ) นำมาพักไว้ที่บ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนให้เป็นน้ำใสก่อนที่จะทำการปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป บ่อนี้จะมีตะกอนส่วนเกิน ( Excess Sludge ) ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดน้ำหนักเบาตกตะกอนอยู่ก้นบ่อบำบัด ตะกอนส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดฝังกลบหรือไปทำปุ๋ย เพราะมี N และ P เหลือในตะกอนละเอียด หรือในบางแห่งอาจนำตะกอนส่วนเกินนี้เวียนกลับไปบำบัดและย่อยสลายซ้ำในบ่อที่ 1 หรือบ่อเติมอากาศก็สามารถทำได้ การนำตะกอนส่วนเกินไปบำบัดซ้ำหรือการนำตะกอนส่วนเกินไปย่อยสลายซ้ำก็เพื่อให้ของเสียเหลือน้อยที่สุด ( เข้าใกล้ Zero Waste ) ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต้องดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้ดี ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดให้จุลินทรีย์ดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในน้ำเสียต้องมีปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมากพอที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ) การที่จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้จำนวนมากนั้น สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด ระบบบำบัดต้องเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ การเติมอากาศต้องกระจายได้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ไม่ใช้อากาศถึงเพียงบางจุดหรือจุดใดจุดหนึ่งของบ่อบำบัดเท่านั้น บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์โดยตรง น้ำที่เน่าเสียจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย น้ำจึงเกิดการเน่าเสียขึ้น จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้ จึงไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นนั่นเอง การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดให้ดีมีประสิทธิภาพก็คือ การดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดให้เจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เพราะถ้าจุลินทรีย์มีปริมาณน้อยลงหรือลดลงเมื่อใด เมื่อนั้นระบบบำบัดจะเริ่มมีปัญหาทันที ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดจะเกิดขึ้นทันที เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน เพราะของเสียต่างๆในน้ำเสียมีปริมาณมากเกินกำลังการย่อยสลายของจุลินทรีย์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในบ่อบำบัดของจุลินทรีย์ย่อยสลายคืออะไร ? กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ ถ้ามีสิ่งแวดล้อมต่างๆในบ่อบำบัดเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดออกซิเจนไม่ได้ ถ้าในบ่อบำบัดมีออกซิเจนน้อยหรือแทบจะไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆเลย ( ค่า DO ต่ำมาก ) จะส่งผลต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที อาจตายเกลี้ยงยกบ่อได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ หรือ กรณีที่น้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีค่า pH ต่ำมากๆ หรือ สูงมากๆ ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ นี่คือ ความสำคัญและบทบาทของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศที่ต้องบริหารจัดการระบบให้เป็น มีความรู้และความเข้าใจในระบบพอสมควรจึงจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพได้ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำนด ระบบล้มเหลวบ่อยๆหรือเป็นประจำ ระบบมีปัญหาในหลายๆเรื่องก็มาจากจุดนี้ ในการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในระบบจึงจะสามารถแก้ไขได้ การบริหารจัดการระบบต้องแม่นยำในทุกๆด้าน การบำรุงรักษาต้องมีประสิทธิภาพ ระบบจึงจะออกมาดีมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย หมายเหตุ : การควบคุมปริมาณน้ำเสียก็ทำได้ยาก และการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียทำได้ยากเช่นกัน ทางออกของปัญหาปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย(บำบัดน้ำเสีย) มีความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียสูง มีความแข็งแกร่ง ไม่เก่าเก็บ มีอาหารเลี้ยงเชื้ออยู่ตลอดเวลา เชื้อจุลินทรีย์มีการขายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีอายุการใช้งานของจุลินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 1 ปีขึ้นไป ( กรณีที่บรรจุอย่างมิดชิดอยู่ในแกลลอนที่จำหน่าย ) ใช้งานบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียและดับกลิ่นบำบัดกลิ่นได้ทันที ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นทันที ไม่ต้องไปขยายต่อให้ยุ่งยากหรือผสมน้ำให้ลำบาก เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา ไม่ต้องไปหาสิ่งใดมาเลี้ยงเชื้อให้ยุ่งยาก เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเรา เชื้อจะมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา การนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าใช้งานบำบัดน้ำเสียได้ทั้งในสภาวะที่น้ำเสียนั้นๆไม่มีออกซิเจน และน้ำเสียที่มีออกซิเจนละลายอยู่ ปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย) จะเกิดขึ้นตามสมการจำลองด้านล่าง ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มาจะเหมือนกันกับการบำบัดน้ำเสียด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย)ชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เหตุเพราะสามารถดึงมาใช้ได้ง่ายกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) แต่ก็มีจุดอ่อนอยู่หลายจุด ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีพอ หรือกรณีเกิดวิกฤตขึ้นในระบบบำบัด กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะมีปัญหา จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะทำงาน(ปฏิกิริยาย่อยสลาย) ได้ในทุกๆที่และทุกๆระบบบำบัด มีความทนทานและต้านทานกับสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักที่ไม่สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ นี่คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราที่ไปแก้ปัญหาปิดจุดอ่อนของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาล้มเหลวบ่อยๆ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าแก้ปัญหาการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียในจุดใด ? ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ - ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย) มีปริมาณน้อย(เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสียที่มีปริมาณมากกว่า) ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆติดตามมา ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด กลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลายติดตามมา สาเหตุเพราะปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นน้อย อันเนื่องมาจากมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีน้อย ต้องเติมหรือเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายไปทดแทนเข้าไปในระบบ - เครื่องเติมอากาศมีปัญหา ( Aerator ) เช่น เครื่องเสียบ่อยๆ หรือ กำลังการเติมอากาศไม่เพียงพอ ( กำลังแรงม้าหรือกำลังวัตต์ต่ำเกินไป ) น้ำเสียมีปริมาณมากและบ่อบำบัดมีขนาดใหญ่ แต่ใช้เครื่องเติมอากาศกำลังแรงม้าต่ำ ซึ่งไม่สมดุลกัน จะผลิตออกซิเจนป้อนน้ำเสียและป้อนให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทำได้น้อยลง หรือกรณีที่การเติมออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัดก็มีปัญหาเช่นกัน จุดที่วางเครื่องเติมอากาศ บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตรเป็นต้น - ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วๆไปในน้ำเสียค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l ถ้าค่าDO ต่ำกว่านี้จะมีผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที ยิ่งค่า DO เป็น ศูนย์ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาจตายยกบ่อได้ตลอดเวลา การเติมอากาศจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการดำรงชีพและการทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เติมออกซิเจนได้มากเพียงพอหรือไม่ เติมได้ทั่วถึงทั้งบ่อหรือไม่ นี่คือปัญหาที่พบบ่อยๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS : Activated Sludge ) ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมมากที่สุด ( มากกว่า 90% เป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ AS ) เหตุผลที่ต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียก็คือ ต้องการให้น้ำเสียนั้นมีออกซิเจนเพียงพอ และให้จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพของจุลินทรีย์เอง - สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัดมีปัญหา เช่น น้ำเสียนั้นๆมีค่า pH ต่ำมาก หรือมีค่า pH สูงมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทันที วิกฤตเช่นนี้อาจทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจเช็คค่า pH อยู่เป็นประจำ กรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายมีปัญหาตายยกบ่อหรือมีปริมาณน้อย สามารถสังเกตทางกายภาพได้ด้วยวิธีสังเกตในเรื่องกลิ่นของน้ำเสีย ถ้ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า จุลินทรีย์อาจตายยกบ่อบำบัดหรือมีปริมาณน้อยมาก จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น ตัวแปรที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย) ทุกๆระบบบำบัดจะขาดซื่งจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้โดยเด็ดขาด คุณภาพน้ำทิ้งจะผ่านหรือไม่ผ่าน คุณภาพน้ำทิ้งจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ตัวแปร(จุลินทรีย์ย่อยสลาย)ตัวนี้เป็นหลัก - สารเคมีบางชนิดอาจทำอันตรายต่อจุลินทรีย์ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงไม่ควรทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายลงในระบบบำบัดอย่างเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือในกรณีที่มีการใช้สารที่เป็นกรดอ่อนๆ หรือสารที่เป็นด่างแก่ จะส่งผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียได้ น้ำเสียส่วนใหญ่จะมีความเป็นกรด ( จากสารอินทรีย์ ) ยกเว้นน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสารเคมีหรือใช้สารเคมี ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียเท่านั้น ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง ระบบบำบัดน้ำเสียใดมีประสิทธิภาพดีหรือมีประสิทธิภาพด้อยในการบำบัดน้ำเสีย สามารถดูผลลัพธ์ได้จากค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่าหรือไม่ นี้คือตัวตัดสินของการบำบัดน้ำเสีย ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาแก้ปัญหาปิดจุดอ่อนที่กล่าวมาเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังช่วยเสริมจุดอ่อนของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาตามที่กล่าวมาข้างบน กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักสามารถดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียได้ง่ายก็จริง แต่ควบคุมได้ค่อนข้างยาก ต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างประกอบและเกื้อหนุนเพื่อรักษาจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้มีมากพอและอยู่ในระบบบำบัดตามที่ต้องการ แต่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่มีความยุ่งยาก ไม่ต้องควบคุมใดๆ สามารถเติมมากหรือน้อยได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ใช้ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศออกซิเจนหรือมีอากาศออกซิเจนก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ตอบโจทย์และแก้ปัญหาปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดน้ำเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียในน้ำเสียไม่ทัน ( ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียให้ดีมากยิ่งขึ้น ปฏิกิริยาการย่อยสลายเร็วขึ้น การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียทำได้มากขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ทำงานคู่ขนานกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักได้ดี ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ทางออกในการแก้ไขปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด นอกจากใช้บำบัดน้ำเสียได้แล้ว จุลินทรีย์หอมคาซาม่ายังมีคุณสมบัติในการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ่อบำบัดน้ำเสีย ได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการในการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสีย ภาพบนเป็นกระบวนการปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า
กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจน + จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน ) ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ปฏิกิริยาเป็นไปตามภาพด้านล่างนี้ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย เสริมประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบด้วย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นในเวลาเดียวกัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือการบำบัดน้ำเสียมีปัญหาดูได้จากจุดใด ? ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งคือ ดัชนี้ชี้วัดว่า การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของท่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือต้องทำการปรับปรุงในส่วนใด ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจึงจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
(( กฎหมายการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..))
|