จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ โดยเฉพาะ ((( จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )))จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ เพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียให้ดีมากยิ่งขึ้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรก
ReadyPlanet.com
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

ขอบคุณทุกๆท่านที่กด แชร์ ( Share )ให้กับจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

                    

# การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไปใช้งาน ควรมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่จะนำไปใช้งานในแต่ละด้าน การใช้เป็นและใช้ถึง ใช้อย่างถูกต้องและตรงจุด จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งานจริง

มืออาชีพจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ให้คำแนะนำและคำปรึกษากับลูกค้าทุกๆท่านฟรีๆ 

 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์ที่มีประโยชนชน์ในการย่อยสลายของเสีย ) คือตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เป็นตัวจักรที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัดที่ขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ไม่ได้อย่างเด็ดขาด 

                    

   จุลินทรีย์ คืออะไร ?

จุลินทรีย์ ( Micro-organism  ) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน และมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติตาม ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์บนโลกใบนี้มีทั้งกลุ่มที่มีประโยชน์ มีโทษ และเป็นกลางตามภาพจำลองด้านบน

1.  จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีอยู่ในธรรมชาติประมาณ  10%  มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจน และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่รักษ์โลก ไม่ให้โลกเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะ

2.  จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้โทษหรือจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อโรคต่างๆ มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน กลุ่มนี้ในธรรมชาติมีอยู่ประมาณ 10% ปัญหาการเกิดการเน่าเหม็น ของเสียต่างๆ โรคสัตว์และโรคพืชก็มาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มทำลายล้าง

3.  จุลินทรีย์ที่เป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะแสดงตัวเป็นกลางๆ เข้าร่วมกับกลุ่มใดก็ได้ในทั้ง 2 กลุ่มด้านบน มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีมากที่สุดของจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกนี้คือประมาณ  80% เข้าร่วมงานได้กับทุกๆกลุ่ม ( ใน 2 กลุ่มด้านบน )

ความหมายของน้ำเสีย

น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งสกปรกต่างๆเจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ อาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์แร่ธาตุต่างๆ 

ความหมายของ บำบัดน้ำเสีย

บำบัดน้ำเสีย หมายถึง การกำจัด การคัดแยก การทำลายของเสียต่างๆที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ จะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการบำบัดน้ำเสีย เช่น การตกตะกอนของเสียต่างๆในน้ำเสีย การกรองของเสียต่างๆออกจากน้ำเสีย การใช้สารเคมีบำบัด หรือการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียให้มีขนาดเล็กลงเป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นกระบวนการบำบัดทั้งสิ้น

ความหมายของ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ และ มีคุณสมติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ดี จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic  Bacteria ) และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย( Aerobic  Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียก็ไม่ถือว่าเป็น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  

จุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ?

ในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆ)ทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ ในขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัด(การย่อยสลายของเสีย) ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเหล่านี้ทั้งสิ้น ยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆแทนจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ในปัจจุบันและคงตลอดไป ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายเท่านั้น จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มคือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มจุลินทรีย์ย่ยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( กลุ่มที่ 1 บน ) จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ยังให้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์กลุ่มเหล่านี้มาใช้งานในการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มนี้เหล่าเป็นหลัก ของเสียต่างๆรวมถึงน้ำเสียไม่ล้นโลกในทุกวันนี้ก็มาจากผลงานของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเหล่านี้เอง   ในการบำบัดน้ำเสียต่อไปนี้จึงจะขอกล่าวถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้ เพราะในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบบำบัดต้องใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มเหล่านี้เป็นหลัก ซึ่งยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการย่อยสลายของเสียต่างๆจากจุลินทรีย์ได้ในปัจจุบัน ในการย่อยสลายของเสียต่างๆของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายจะมีข้อจำกัด โดยเฉพาะกับของเสียต่างๆที่มีขนาดใหญ่ก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายนานมากขึ้น อาจจะเป็นปีหรือหลายๆปีก็มี ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดจึงต้องมีการตกตะกอน และการกรองของเสียที่มีขนาดใหญ่ออกจากระบบก่อน(การบำบัดน้ำเสียขั้นแรก) คัดเอาเฉพาะของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าไปในระบบบำบัด เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายแปรสภาพของเสียต่างๆให้สลายไปตามสมการด้านล่างได้รวดเร็วขึ้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์

     

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Bacteria )

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆได้ดี จุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียก็ไม่จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกันในโลกนี้ มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย

ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดหรือการแปรสภาพจากน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนั้น ต้องใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเพียงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) ซึ่งยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนจุลินทรีย์ย่อยสลายนี้ได้เลยจนถึงทุกวันนี้ บรรดาของเสียและน้ำเสียทั้งหลายทั้งมวลบนโลกใบนี้จึงต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งนั้น เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายที่จะแปรเปลี่ยนรูปของสสารที่อยู่ในน้ำเสียทั้งหมดให้กลายไปเป็น  น้ำ ( H2O ) + พลังงาน ( Energy) + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ตามสมการด้านล่าง

 

  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเท่านั้น  ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์รวมถึงดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ช่วยลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ .-

1.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic  Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีชีวิตอยู่ได้โดยต้องอาศัยออกซิเจนและอาหารเป็นหลัก ขาดอากาศออกซิเจนไม่ได้ มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่กระจัดกระจายตามธรรมชาติ น้ำ ดิน และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้จะเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัดมากที่สุด  สามารถดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสียได้ง่ายจากธรรมชาติ ถ้าออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมได้ดี แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่ทนกับสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตไม่ได้ เช่น ในน้ำเสียมีค่าออกซิเจนละลายอยู่น้อย( ค่า DO ต่ำ ) หรือในน้ำเสียนั้นๆไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือกรณีที่ในน้ำเสียนั้นๆมีค่า pH ต่ำหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้(ตายยกบ่อ) นี่คือจุดอ่อนบางส่วนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้

2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic  Bacteria ) ทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียโดยไม่ใช้อากาศออกซิเจน อยู่ได้ทั้งในที่อับอากาศหรือมีอากาศออกซิเจนน้อยหรือไม่มีอากาศออกซิเจนเลย จึงเหมาะกับการใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้นำไปบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงของเสียในบางจุด โดยเฉพาะในน้ำเสียที่อยู่ก้นบ่อบำบัด ซึ่งสามารถนำมาทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนได้เป็นอย่างดี ในจุดที่อับอากาศหรืออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงแต่มีของเสียและน้ำเสียที่รอการบำบัดอยู่ จะไม่ค่อยมีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆเหล่านี้ ดังนั้นจึงมีการนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเข้าไปทดแทนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ(บำบัดน้ำเสีย) เพื่อให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้ตามปกติ จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้จะช่วยเป็นกำลังเสริมในการย่อยสลายของเสียในจุดที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงหรือจุดที่อับอากาศออกซิเจนมีน้อยหรือไม่มีเลย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน กรณีที่ปริมาณกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณน้อยในระบบบำบัดน้ำเสีย กรณีที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด สามารถนำจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ไปทดแทนได้ทันที ซึ่งเป็นกำลังเสริมและกำลังเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้ในยามที่ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหาหรือการบำบัดน้ำเสียมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด จุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถช่วยเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียได้ทันที

      

   จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้อย่างไร ?

ในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)ถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงหรือเป็นธรรมชาติของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆ ในน้ำเสีย ซึ่งมีสิ่งเจือปนและปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สสารทั้งหลายทั้งมวลเหล่านี้จะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายถือว่าเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนสุดท้ายของการแปรเปลี่ยนรูปของสสารให้หายไป และกลายไปเป็นน้ำและก๊าซต่างๆรวมถึงพลังงานตามสมการด้านล่างและด้านบน  ในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะพึ่งพาและนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียที่จะทำการบำบัด เพื่อดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในธรรมชาติมาใช้งาน การเจริญเติบโตและขยายเซลล์ให้มากขึ้น เพื่อทำการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงเป็นที่มาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated  Sludge : AS ) เพื่อใช้บำบัดน้ำเสียที่มาจากแต่ละแหล่งดังกล่าว จุดเด่นๆของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนคือสามารถดึงจากธรรมชาติดิน น้ำและอากาศเข้าระบบบำบัดได้ง่าย แต่ต้องออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมต่างๆในระบบบำบัดและบ่อบำบัดให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายตัว ( ขยายเซลล์ ) ของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ กรณีที่มีปัญหาในจุดใดจุดหนึ่งในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนลดลงหรืออาจตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ยกตัวอย่างเช่น ค่า pH ในบ่อบำบัดต่ำหรือสูงมากๆ จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ตลอดเวลา หรือ ค่า DO เป็น ศูนย์ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็สามารถตายยกบ่อได้เช่นกัน และมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน สามารถดึงมาใช้งานได้ง่ายจริง แต่ดูแลรักษาค่อนข้างยากและมีจุดอ่อนหลายจุด 

                        

ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ขั้นตอนสุดท้ายจะได้ผลลัพธ์ตามสมการด้านบน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแบบสมบูรณ์ขั้นสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงแล้วการบำบัดน้ำเสียไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% ซะทีเดียว จะยังคงเหลือของเสียที่เป็นกากตะกอนละเอียดหรือตะกอนส่วนเกินบางส่วน( Excess  Sludge ) ตะกอนส่วนเกินจะเหลือมากหรือเหลือน้อยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการย่อยสลายของจุลินทรีย์เป็นหลัก ถ้าการย่อยสลายทำได้มากที่สุด อาจจะเหลือตะกอนส่วนเกินเพียงเล็กน้อยก็เป็นไปได้ และที่สุดของที่สุดของวัฏฏจักรกระบวนการย่อยสลายของเสียต่างๆทุกๆชนิดขั้นสุดท้ายหรือท้ายที่สุดก็จะเหลือเพียง น้ำ พลังงานและก๊าซต่างๆ สสารทุกๆชนิดในโลกนี้จะถูกแปรเปลี่ยนรูปไปตามสมการด้านบน(ผลลัพธ์) ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างทั้งพืชและสัตว์ทุกๆชนิด ท้ายที่สุดผลลัพธ์จะออกมาตามสมการด้านบนนี้

                 

ภาพบนเป็นโมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่พบเห็นทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศตามภาพบนนี้ พบได้ตามอาคารสำนักงานหลายๆแห่ง อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมทั่วๆไป ส่วนใหญ่จะใช้โมเดลนี้เป็นหลัก

โมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ประกอบด้วย

1. มีบ่อรับน้ำเสีย น้ำเสียทั้งหมดจะนำมารวมกันที่บ่อนี้ ( ยกเว้นน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกส่วนไปบำบัดในเบื้องต้นก่อนเข้าระบบรับน้ำเสียรวม ) การย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในจุดนี้ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อเติมอากาศ ) บ่อนี้จะเน้นการบำบัดเบื้องต้นหรือการบำบัดขั้นต้น(การตกตะกอนหนักเบาทั้งหลายรวมถึงการใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบหลายชั้น) ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ได้ในระดับหนึ่ง

2. บ่อเติมอากาศ น้ำเสียจากบ่อที่ 1 จะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ภาพบน  ) เพื่อทำการบำบัด(ย่อยสลายของเสียต่างๆ)ที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)จะเกิดขึ้นในจุดนี้หรือบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่อยู่ที่ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในบ่อนี้เป็นหลัก ถ้าปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นได้มากและมีประสิทธิภาพ ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มาก ของเสียต่างๆเหลือน้อยในบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายก็มีโอกาสผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสีย ต้องให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่ที่ประสิทธิภาพและปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายเป้นหลัก จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงจะไม่เกิดปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด

3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง เป็นบ่อที่รองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ตามภาพบน ) นำมาพักไว้ที่บ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนส่วนเกิน( Excess  Sludge)ให้เป็นน้ำใสก่อนที่จะทำการปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป บ่อนี้จะมีตะกอนส่วนเกิน ( Excess  Sludge ) ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดน้ำหนักเบาตกตะกอนอยู่ก้นบ่อบำบัด ตะกอนส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดทิ้งฝังกลบหรือไปทำปุ๋ย เพราะมี N และ P เหลือในตะกอนละเอียด หรือในบางแห่งอาจนำตะกอนส่วนเกินนี้เวียนกลับไปบำบัดและย่อยสลายซ้ำในบ่อที่ 2 หรือบ่อเติมอากาศก็สามารถทำได้ การนำตะกอนส่วนเกินไปบำบัดซ้ำหรือการนำตะกอนส่วนเกินไปย่อยสลายซ้ำก็เพื่อให้ของเสียเหลือน้อยที่สุด ( เข้าใกล้ Zero Waste ) ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น ตะกอนส่วนเกินมีประโยชน์ในกรณีที่ค่า SV 30 ในระบบมีค่าต่ำเกินกำหนด

  หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต้องดูแลและบำรุงรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้อยู่ดีกินดี โดยการดูแลและบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพดีอย่างสม่ำเสมอ ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดให้จุลินทรีย์ดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในน้ำเสียต้องมีปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมากเพียงพอที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ขึ้นไป) การที่จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้จำนวนมากนั้น สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด ระบบบำบัดต้องเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ การเติมอากาศต้องกระจายให้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ไม่ใช่ออกซิเจนกระจายถึงเพียงบางจุดหรือจุดใดจุดหนึ่งของบ่อบำบัดเท่านั้น บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร เพราะจะทำให้การกระจายออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึง ส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์โดยตรง น้ำที่เน่าเสียจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย น้ำจึงเกิดการเน่าเสียขึ้น จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้ จึงไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นนั่นเอง การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดให้ดีมีประสิทธิภาพก็คือ การดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดให้เจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เพราะถ้าจุลินทรีย์มีปริมาณน้อยลงหรือลดลงเมื่อใด เมื่อนั้นระบบบำบัดจะเริ่มมีปัญหาทันที ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดจะเกิดขึ้นทันที เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน ของเสียต่างๆในน้ำเสียมีปริมาณมากเกินกำลังการย่อยสลายของจุลินทรีย์

  สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในบ่อบำบัดของจุลินทรีย์ย่อยสลายคืออะไร ?

กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดี ถ้ามีสิ่งแวดล้อมต่างๆในบ่อบำบัดเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต  อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดออกซิเจนไม่ได้  ถ้าในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นมีออกซิเจนน้อยหรือแทบจะไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆเลย ( ค่า DO ต่ำมาก ) จะส่งผลต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที อาจตายยกบ่อได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ หรือ กรณีที่น้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีค่า pH ต่ำมากๆ หรือ สูงมากๆ ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ นี่คือ ความสำคัญและบทบาทของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศที่ต้องบริหารจัดการระบบให้เป็น ผู้ดูแลระบบบำบัดต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบพอสมควรจึงจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพได้ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำนด ระบบล้มเหลวบ่อยๆหรือเป็นประจำ ระบบมีปัญหาในหลายๆเรื่องก็มาจากจุดนี้ ในการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในระบบจึงจะสามารถแก้ไขได้ การบริหารจัดการระบบต้องแม่นยำในทุกๆด้าน การบำรุงรักษาต้องมีประสิทธิภาพ ระบบจึงจะออกมาดีมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย

 การบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic  Bacteria )

ในการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่มอย่างที่กล่าวมาแล้วเป็นหลัก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น และกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้  จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้สามารถทำปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและในสภาวะที่มีอากาศออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆ โดยไม่มีการดึงออกซิเจนในน้ำเสียมาใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ซึ่งเป็นผลดีต่อกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนที่จะได้มีออกซิเจนเพียงพอในการดำรงชีพในน้ำเสีย จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ในโลกนี้ อยู่แบบกระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อย นอกจากจะมีการนำจุลินทรีย์กลุ่มนี้มารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ( สังเคราะห์ขึ้น ) เพื่อเลี้ยงเชื้อให้มันขยายตัวให้มากขึ้น ( ขยายเซลล์ ) ได้ตามที่เราต้องการมากหรือน้อย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย(บำบัดน้ำเสีย) มีความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียสูง มีความแข็งแกร่ง ไม่เก่าเก็บ มีอาหารเลี้ยงเชื้ออยู่ตลอดเวลา เชื้อจุลินทรีย์มีการขายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีอายุการใช้งานของจุลินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 1 ปีขึ้นไป ( กรณีที่บรรจุอย่างมิดชิดอยู่ในแกลลอนที่จำหน่าย ) ใช้งานบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียและดับกลิ่นบำบัดกลิ่นได้ทันที ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นทันที ไม่ต้องไปขยายต่อให้ยุ่งยากหรือผสมน้ำให้ลำบาก เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา ไม่ต้องไปหาสิ่งใดมาเลี้ยงเชื้อให้ยุ่งยาก เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเรา เชื้อจะมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา 

  การนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

  จุลินทรีย์หอมคาซาม่าใช้งานบำบัดน้ำเสียได้ทั้งในสภาวะที่น้ำเสียนั้นๆไม่มีออกซิเจน และน้ำเสียที่มีออกซิเจนละลายอยู่ ปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย) จะเกิดขึ้นตามสมการจำลองด้านล่าง

      

ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มาจะเหมือนกันกับการบำบัดน้ำเสียด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic  Bacteria ) ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย)ชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เหตุเพราะสามารถดึงมาใช้ได้ง่ายกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic  Bacteria   ) แต่ก็มีจุดอ่อนอยู่หลายจุด ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีพอ หรือกรณีเกิดวิกฤตขึ้นในระบบบำบัด กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะมีปัญหา จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะทำงาน(ปฏิกิริยาย่อยสลาย) ได้ในทุกๆที่และทุกๆระบบบำบัด มีความทนทานและต้านทานกับสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักที่ไม่สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ นี่คือจุดเด่นๆของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าของเราที่ไปแก้ปัญหาปิดจุดอ่อนของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาล้มเหลวบ่อยๆ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าแก้ปัญหาการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียในจุดใด ?

 ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหาดังต่อไปนี้

- ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย) มีปริมาณน้อย(เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสียที่มีปริมาณมากกว่า) ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆติดตามมา ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด กลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลายติดตามมา สาเหตุเพราะปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นน้อย อันเนื่องมาจากมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีน้อย ต้องเติมหรือเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายไปทดแทนเข้าไปในระบบ

- เครื่องเติมอากาศมีปัญหา ( Aerator ) เช่น เครื่องเสียบ่อยๆ หรือ กำลังการเติมอากาศไม่เพียงพอ ( กำลังแรงม้าหรือกำลังวัตต์ต่ำเกินไป ) น้ำเสียมีปริมาณมากและบ่อบำบัดมีขนาดใหญ่ แต่ใช้เครื่องเติมอากาศกำลังแรงม้าต่ำ ซึ่งไม่สมดุลกัน จะผลิตออกซิเจนป้อนน้ำเสียและป้อนให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทำได้น้อยลง หรือกรณีที่การเติมออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัดก็มีปัญหาเช่นกัน จุดที่วางเครื่องเติมอากาศ บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตรเป็นต้น

- ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วๆไปในน้ำเสียค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l ถ้าค่าDO ต่ำกว่านี้จะมีผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที ยิ่งค่า DO เป็น ศูนย์ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาจตายยกบ่อได้ตลอดเวลา การเติมอากาศจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการดำรงชีพและการทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เติมออกซิเจนได้มากเพียงพอหรือไม่ เติมได้ทั่วถึงทั้งบ่อหรือไม่ นี่คือปัญหาที่พบบ่อยๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( ระบบ AS : Activated  Sludge ) ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมมากที่สุด ( มากกว่า 90% เป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ AS ) เหตุผลที่ต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงในน้ำเสียก็คือ ต้องการให้น้ำเสียนั้นมีออกซิเจนเพียงพอ และให้จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพของจุลินทรีย์เอง

- สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัดมีปัญหา เช่น น้ำเสียนั้นๆมีค่า pH ต่ำมาก หรือมีค่า pH สูงมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักทันที วิกฤตเช่นนี้อาจทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจเช็คค่า pH อยู่เป็นประจำ กรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายมีปัญหาตายยกบ่อหรือมีปริมาณน้อย สามารถสังเกตทางกายภาพได้ด้วยวิธีสังเกตในเรื่องกลิ่นของน้ำเสีย ถ้ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า จุลินทรีย์อาจตายยกบ่อบำบัดหรือมีปริมาณน้อยมาก จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น ตัวแปรที่สำคัญมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย) ทุกๆระบบบำบัดจะขาดซื่งจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้โดยเด็ดขาด คุณภาพน้ำทิ้งจะผ่านหรือไม่ผ่าน คุณภาพน้ำทิ้งจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ตัวแปร(จุลินทรีย์ย่อยสลาย)ตัวนี้เป็นหลัก

- สารเคมีบางชนิดอาจทำอันตรายต่อจุลินทรีย์ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงไม่ควรทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายลงในระบบบำบัดอย่างเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือในกรณีที่มีการใช้สารที่เป็นกรดอ่อนๆ หรือสารที่เป็นด่างแก่ จะส่งผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียได้ น้ำเสียส่วนใหญ่จะมีความเป็นกรด ( จากสารอินทรีย์ ) ยกเว้นน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสารเคมีหรือใช้สารเคมี

ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียเท่านั้น ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเทคนิคของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง  ระบบบำบัดน้ำเสียใดมีประสิทธิภาพดีหรือมีประสิทธิภาพด้อยในการบำบัดน้ำเสีย สามารถดูผลลัพธ์ได้จากค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกๆค่าหรือไม่ นี้คือตัวตัดสินของการบำบัดน้ำเสีย ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง )

 

 จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาแก้ปัญหาปิดจุดอ่อนที่กล่าวมาเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังช่วยเสริมจุดอ่อนของการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาตามที่กล่าวมาข้างบน กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักสามารถดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียได้ง่ายก็จริง แต่ควบคุมได้ค่อนข้างยาก ต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างประกอบและเกื้อหนุนเพื่อรักษาจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้มีมากพอและอยู่ในระบบบำบัดตามที่ต้องการ แต่จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่มีความยุ่งยาก ไม่ต้องควบคุมใดๆ สามารถเติมมากหรือน้อยได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ใช้

   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama )

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย เกิดจากการสังเคราะห์รวมกลุ่มกันของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายหลายๆสายพันธุ์นำมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นตัวเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ช่วยลดภาระหนักในการย่อยสลายของเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เป็นการเพิ่มกำลังการย่อยสลายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป ช่วยเติมเต็มระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเต็มอากาศ AS  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เป็นผลดีต่อระบบบำบัดโดยตรง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตได้ เช่น ค่า DO ในน้ำเสียต่ำมากๆ ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้(ตาย) หรือกรณีที่ในน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมากหรือสูงมาก กลุ่มจุลินรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถดำรงชีพยู่ได้เช่นกัน(ตาย) แต่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทนแรงต้านของสภาวะสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้ ทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนกับกลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าที่ไม่ใช้ออกซิเจน)

      

ภาพบนเป้นกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จะได้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้นมาอีกตัวก็คือ ก๊าซมีเทน ( CH4 ) ผลพลอยได้จากการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาจะได้ก๊าซมีเทนตามภาพจำลองด้านบน ก๊าซมีเทนถ้ามีเป็นจำนวนมากสามารถนำไปประยุกต์เป็นพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ 

ภาพบนเป็นโมเดลปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งจะส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

  บทสรุปในการบำบัดน้ำเสีย    

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ทั้งสิ้น  และจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจะต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และจะต้องมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการดำรงชีพ คือ

1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน 

ดังนั้น ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุด จึงมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เพื่อรองรับการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานนั่นเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ไม่เพียงพอหรือมีจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยในบ่อบำบัดหรือระบบบำบัด จึงทำให้น้ำเน่าเสียปะทุขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่ระบบมีปัญหา ไม่ตอบสนองต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ระบบก็จะล้มเหลวได้ง่ายๆ การแก้ปัญหาจึงนิยมนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจนมาทดแทน โดยเฉพาะกรณีที่ค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียมีค่าต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะอยู่ไม่ได้ตายยกบ่อได้ทันที แต่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้ ทำการย่อยสลายของเสียได้ตามปกติไม่มีผลกระทบใดๆเป็นต้น

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียที่ระบบบำบัดมีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนไม่เพียงพอ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทดแทนได้ทันที เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบได้มากตามความต้องการทันที เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นจุลินทรีย์บำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น) ใช้จุลินรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการคือ การบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)น้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสีย ดับกลิ่นน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัด ใช้แล้วกลิ่นหอมทันที ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น โปรดระวังของลอกเลียนแบบ รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ต้องที่นี่.. เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆกับลูกค้าทุกๆท่านที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากที่นี่...รวมทั้งให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาเกิดขึ้นปรึกษาได้ฟรีๆ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย กับลูกค้าของเราทุกๆท่านฟรีๆ

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคการบำบัดน้ำเสียและปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียฟรีๆ

 - ให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างต่อเนื่องกับลูกค้าทุกๆท่านที่ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าอย่างต่อเนื่อง 

 ที่นี่..เราไม่ได้จำหน่ายเพียงจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นกำจัดกลิ่นเพียงแค่นั้น แต่เรายังมุ่งช่วยเหลือลูกค้าของเราทุกๆท่าน ที่มีปัญหาในการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหา โดยการให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆสำหรับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์และปัญหาอื่นๆในระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมดของลูกค้า การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มีเป็นจำนวนมาก ในการแก้ปัญหาต้องใช้ความรู้และความชำนาญเป็นพิเศษ   

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย , ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย , จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย (ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย) และการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่น)ในเวลาเดียวกันทันที กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน โปรดระวังของลอกเลียนแบบและแอบอ้างของเรา ซึ่งเราไม่ได้อนุญาตให้ใครลอกเลียนแบบทั้งเนื้อหาและสาระบนเว็บไซต์ ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์มีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่งทั้งจำและปรับ

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า  จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด

ขนาดบรรจุแกลลอน  20  ลิตร

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายแกลลอนละ  1,200 บาท

 จัดส่งฟรีๆทั่วประเทศ ให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและปัญหาทางเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด        

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบเน้นความเข้มข้นและความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์สูง แข็งแกร่งทนกับสภาวะวิกฤตได้ดี ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ระบบล่มบ่อยๆ ฯลฯ 



         

ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

 

การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่..

วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่...  

ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่...

ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..

ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...

ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
 ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นรถขยะ / ดับกลิ่นรถขนขยะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

 การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..

การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

 วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่...

ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. 

สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. 

วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 

ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  คลิกที่นี่.. 

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม  คลิกที่นี่.. 

จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..  

ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน  คลิกที่นี่.. 

วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่...

ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่..

เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ  คลิกดูที่นี่..

 ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่...

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่....       

 จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูข้อมูลที่นี่... 

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์หอม  คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. 

ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม  คลิกที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ  คลิกที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น  คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่.. 

em บำบัดน้ำเสีย/  em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่..  

em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. 

em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่...  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่...

วิธีดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. 

การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...

ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...  

ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่...

ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่...

ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่...

ลดค่า  BOD  ทำอย่างไร ?  อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... 

 การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. 

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่..

เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ  คลิกที่นี่...   

จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...