จุลินทรีย์หอมคาซาม่าได้เพิ่มกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ โดยเฉพาะ ระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมเป็นอย่างไร
ReadyPlanet.com
การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม

         

การบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมทั่วๆไป

คอนโดมิเนียมทุกๆแห่ง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จะต้องมีการบำบัดน้ำเสียที่มาจากห้องน้ำห้องส้วมของสมาชิกในคอนโดมิเนียมนั้นๆ ดังนั้น คอนโดมิเนียมจะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดโดยเฉพาะ เพื่อทำการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป คอนโดมิเนียมแทบจะทุกๆแห่งจะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งผู้ออกแบบระบบได้ออกแบบไว้ในที่ก่อสร้างคอนโดมิเนียมตั้งแต่เริ่มแรก ระบบบำบัดน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสียจะต้องเผื่อการรองรับน้ำเสียที่จะมีมากขึ้นในอนาคต( OverLoad )ไม่น้อยกว่า 10%  ระบบบำบัดน้ำเสียที่พบบ่อยๆ คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated  Sludge : AS )ซึ่งจะมีการเติมอากาศโดยเครื่องเติมอากาศ( Aerator )ลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนมากพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดึงออกซิเจนไปใช้ในการดำรงชีพขยายตัวและการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ในบ่อบำบัดน้ำเสียจะมีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย กับอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จุลินทรียย่อยสลายทั้ง 2 กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ผลลัพธ์เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่การดำรงชีพและปฏิกิริยาการย่อยสลาย กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนจะขาดออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายไม่ได้  แต่สำหรับกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายและการดำรงชีพ ออกซิเจนจะไม่มีความสำคัญใดๆกับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ในบ่อบำบัดน้ำเสียจะมีจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้อยู่แล้ว แต่มีปริมาณน้อย( เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง )คอนโดมิเนียมแทบทุกๆแห่งจะนิยมใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศเป็นหลัก ปัญหาที่เกิดขึ้นในคอนโดมิเนียมทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านและอื่นๆจะมาจากการออกแบบระบบบำบัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อบ่อเกรอะเข้าตรงกับบ่อบำบัด บรรดาสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย ทั้งตะกอนหนักตะกอนเบา ตะกรัน จะไหลเข้าในบ่อบำบัด ทำให้เป็นภาระหนักของจุลินทรีย์ย่อยสลาย เพราะของเสียที่เป็นสิ่งปฏิกูลที่มาจากบ่อเกรอะมีขนาดใหญ่ต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายนานมากขึ้น ส่งผลให้การย่อยสลายได้ไม่ทันของเสียจึงล้นระบบบำบัด ระบบบำบัดที่ถูกต้องควรแยกบ่อเกรอะออกจากระบบบำบัด โดยของเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆในบ่อเกรอะจะลำเลียงไปแยกบำบัดอีกบ่อหนึ่งต่างหาก ก่อนที่จะส่งต่อน้ำเสียในส่วนนี้ไปเข้ากับระบบบำบัดน้ำเสียรวมของคอนโดมิเนียม ตามภาพจำลองด้านล่าง ซึ่งจะช่วยลดทั้งค่า BOD, SS , TDS ได้อย่างมาก เพราะสารอินทรีย์ที่เป็นสิ่งปฏิกูลขนาดใหญ่ไม่หลุดเข้าไปในระบบบำบัด ทำให้การบำบัดน้ำเสียโดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

        

ภาพบนเป็นการแยกบำบัดน้ำเสียของเสียจากบ่อเกรอะในเบื้องต้น ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั้งระบบของคอนโด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่างๆได้มาก ดังนั้น จึงควรแยกบ่อเกรอะออกจากบ่อบำบัด( ไม่ควรต่อตรง )และบ่อเกรอะควรมีการสูบกำจัดสิ่งปฏิกูลทิ้งอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดตะกอนหนักตะกอนเบาและตะกรันให้หมดไป การบำบัดน้ำเสียก็จะง่ายขึ้น

  ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม 

แทบจะทุกๆแห่งระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียมจะเป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ( AS )ตามภาพจำลองด้านล่าง บางแห่งก็เติมอากาศจริงโดยใช้เครื่องเติมอากาศ( Aerator ) แต่บางแห่งก็ไม่มีการเติมอากาศเพราะกลัวการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า วัถุประสงค์ของการเติมอากาศลงไปในน้ำเสียก็เพื่อ

1. ให้น้ำเสียนั้นๆมีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นควรมีค่าตั้งแต่ 2 mg/l ขึ้นไป( ค่า DO>=2 mg/l ) น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มาก จะทำให้ออกซิเจนลดลง ส่งผลให้น้ำเสียเกิดการเน่าเหม็นขึ้น

2. ให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการดำรงชีพการเจริญเติบโตขยายตัวและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนจะขาดซึ่งออกซิเจนไม่ได้ ขาดออกซิเจนเมื่อใดตายยกบ่อทันที จุลินทรีย์ที่ตายแล้วจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนกันกับสัตว์ที่ตายแล้วเกิดการเน่าเหม็น 

ภาพบนระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ( AS )ทั่วๆไป ระบบบำบัดหลักๆจะมีด้วยกันอย่างน้อย 3 บ่อขึ้นไป ในคอนโดมิเนียมก็เป็นเช่นนี้ อาจจะมีบ่อบำบัดมากกว่า 3 บ่อขึ้นไปได้ แต่ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ บ่อเติมอากาศ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศตั้งแต่บ่อที่ 2 เป็นต้นไป จะเติมอากาศมากกว่า 1 บ่อขึ้นไปก็ได้ ยิ่งเป็นการดี แต่อาจจะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า การเติมอากาศควรเติมอย่างต่อเนื่อง( เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลา ) การเช็คค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจะเช็คในบ่อสุดท้าย ( ก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ) เครื่องเติมอากาศหรือ Aerator ต้องมีกำลังแรงม้าหรือกำลังวัตต์ที่สามารถเติมอากาศได้กระจายทั่วถึงในทุกๆจุดของบ่อเติมอากาศ 

ภาพบนเป็นตารางดัชนีคุณภาพน้ำ( ค่าพารามิเตอร์ )ซึ่งกำหนดขึ้นโดยทางราชการ คอนโดมิเนียมแต่ละแห่งจะถูกกำหนดประเภทโดยจำนวนห้อง ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคาร สิ่งที่นิติบุคคลอาคารชุดทุกๆแห่งควรปฏิบัติก็คือ การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม การจัดการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ( ทำเป็นงานประจำ )การเช็คค่าต่างๆของน้ำเสียในบ่อบำบัดในเบื้องต้นด้วยเครื่องมือวัดค่า เช่น pH , DO , BOD จะทำให้รู้ถึงความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสีย กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นในระบบบำบัดจะทำการแก้ไขได้ทันที เป็นผลดีต่อระบบบำบัดโดยตรง 

เครื่องมือที่ควรมีไว้ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย 

1. pH Meter ( Digital ) เครื่องวัดค่า pH ใช้สำหรับเช็คค่า pH ของน้ำเสียในแต่ละบ่อบำบัด แล้วทำการบันทึกไว้ในแต่ละวัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ถ้าค่า pH เป็นกรดหรือเป็นด่างมากๆในบ่อที่ 1 ( บ่อรับน้ำเสียบ่อแรก ) ให้ทำการปรับค่า pH ทันที อย่าให้มีผลกระทบกับจุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อเติมอากาศ( ค่า pH สูงหรือต่ำมากๆจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายเกลี้ยงบ่อได้ )บ่อใดก็ตามที่มีปัญหาในเรื่องค่า pH ให้ทำการปรับค่า pH ทันที

2. BOD Meter  ( Digital ) ให้ทำการเช็คค่า BOD ในบ่อสุดท้าย( บ่อพักน้ำทิ้ง )ถ้าค่า BOD เกินเกณฑ์มาตรฐานต้องรีบแก้ไขปรับปรุงระบบในบางจุด ถ้าถามว่าจะเช็คค่า BOD ในบ่อที่ 1 และบ่อเติมอากาศได้หรือไม่? คำตอบคือได้ เพราะจะทำให้เราทราบค่า BOD ในแต่ละจุด ถ้าค่าสูงมากๆ( สารอินทรีย์เจือปนในน้ำเสียมีปริมาณมาก )ก็จัดการแก้ปัญหาให้ค่า BOD ลดลง เพื่อไม่เป็นภาระหนักของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งมีวิธีแก้ไขปัญหานี้หลายวิธีด้วยกัน

3. DO Meter  ( Digital ) สำหรับเช็คค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย โดยเน้นที่บ่อเติมอากาศเป็นพิเศษ ถ้าค่า DO น้อยกว่า 2 mg/l ต้องทำการแก้ไขทันที ต้องเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำเสียให้มากขึ้น ในการเช็คค่าของ DO ถ้าทำได้ในทุกๆจุดของบ่อเติมอากาศได้ยิ่งเป็นการดี รวมถึงก้นบ่อบำบัดว่าค่า DO เป็นเท่าไหร่ เราจะได้รู้ว่าออกซิเจนกระจายทั่วถึงทั้งบ่อเติมอากาศหรือไม่? ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต การขยายตัวและปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน จุดใดในบ่อบำบัดที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนเบาบาง จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้จะไม่เจริญเติบโตและขยายตัว ทำให้ของเสียไม่ถูกย่อยสลายผ่านไปยังบ่อพักน้ำทิ้ง ค่า BOD อาจไม่ผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ ถ้าในบ่อเติมอากาศมีค่า DO น้อยต้องรีบเพิ่มปริมาณออกซิเจนเติมเข้าในบ่อเติมอากาศทันที อย่ารอให้ค่า DO=0 เพราะจะทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด

  สำหรับเครื่องมือวัดค่าต่างๆตามข้อ 1-3 มีจำหน่ายทั่วๆไปในท้องตลาดเครื่องมือวัดค่า ใช้เครื่องมือเหล่านี้เช็คสุขภาพระบบบำบัดน้ำเสียของท่านเป็นประจำในแต่ละวัน จะเป็นผลดีต่อการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียมโดยตรง น้ำเสียเป็นทั้งมลพิษ( ถ้าเกิดการเน่าเสียที่วิกฤตมากๆ )และเป็นทั้งมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมทั้งพืชและสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำเสียที่วิกฤตมากๆ ทั้งพืชและสัตว์น้ำตายได้ตลอดเวลา จึงต้องมีการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีจากทุกๆแหล่งก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมส่วนรวม

 สิ่งที่นิติบุคคลอาคารชุดควรปฏิบัติในเบื้องต้น

- ทำความสะอาดระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆบ่อบำบัด( กำจัดของเสียออกให้หมด ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แล้วทำการ Reboot ระบบใหม่

- สูบสิ่งปฏิกูล ตะกอน ตะกรัน ออกจากบ่อเกรอะให้หมดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง( 6 เดือน/ครั้ง )

- ส่งตัวอย่างน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ( ตามตารางด้านบน )

- ทำตารางรายงานผลค่าต่างๆตามข้อ 1-3 ในแต่ละวัน

ถ้าบริหารจัดการได้เช่นนี้ จะทำให้ระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดปัญหาระบบล้มเหลวบ่อยๆ ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเป็นประจำ ไม่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อม ไม่เสี่ยงต่อการถูกปรับจากหน่วยงานราชการ ทั้งการปรับต่อครั้งและการปรับรายวัน

       

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย ในนาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะกับระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในระบบมีปริมาณน้อย ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆ ช่วยลดภาระการทำงานย่อยสลายของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนในบ่อเติมอากาศ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดสองชั้น( Double  Treatment )คือการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายสองกลุ่มในเวลาเดียวกัน( ตามภาพบน )ของเสียจะถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น สำหรับลูกค้าของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆในการแก้ไขปัญหาของระบบบำบัด ทั้งปัญหาทางเทคนิคและปัญหาอื่นๆในระบบบำบัด

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่าย แกลลอนละ  1,200  บาท

ขนาดบรรจุ แกลลอน  20  ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร )

จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )



         

ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้

 

การบำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม กดดูที่นี่..

วิธีดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นและน้ำเน่าเสีย คลิกดูที่นี่...  

ดับกลิ่นห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น คลิกดูที่นี่...

ส้วมเหม็นทำอย่างไร? แก้ไขอย่างไร ? คลิกดูที่นี่..

ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น บ่อส้วมมีกลิ่น คลิกดูที่นี่...

ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น ท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นส้วมเหม็น/ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกที่นี่..

ดับกลิ่นสุนัขและสัตว์เลี้ยงทุกๆชนิด คลิกดูที่นี่..
 ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์ดับกลิ่นรถขยะ / ดับกลิ่นรถขนขยะเหม็น คลิกดูที่นี่.. 
บำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... 

 การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่..

การดูแลและบำรุงรักษา/การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

 วิธีลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกดูที่นี่..
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่...

ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลาทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. 
จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตขนม คลิกที่นี่.. 
จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..
ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในล้งปลา/โรงงานทำปลา คลิกดูที่นี่..
การกำจัดไขมันและน้ำมันแบบง่ายๆ( FOG ) คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานย่อยสลายของเสียอย่างไร คลิกดูที่นี่.. 

สัญญาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีปริมาณน้อย คลิกดูที่นี่.. 

วิธีการกำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป คลิกดูที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วยงาน คลิกดูที่นี่.. 

ระบบบำบัดน้ำเสีย / การบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่.. 

บำบัดน้ำเสีย / วิธีบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

บำบัดน้ำเสีย/ระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

การบำบัดน้ำเสีย/การดับกลิ่นด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  คลิกที่นี่.. 

ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าในบ่อเกรอะบ่อส้วม  คลิกที่นี่.. 

จุลินทรีย์ 2 in 1 (จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์ดับกลิ่น)คลิกดูที่นี่..  

ทำไมต้องเติจุลินทรีย์ลงไปในระบบบำบัดหรือบ่อบำบัด คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย & จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซื้อที่ไหน  คลิกที่นี่.. 

วิธีดับกลิ่นส้วมเต็ม(ส้วมเหม็น) คลิกดูที่นี่...

ดับกลิ่นคาวปลาในโรงงาน / ดับกลิ่นคาวเลือดปลา คลิกดูที่นี่..

เลี้ยงหมูแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ  คลิกดูที่นี่..

 ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น( ดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น ) คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกดูที่นี่...

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่....       

 จุลินทรีย์ดับกลิ่น  คลิกดูข้อมูลที่นี่... 

จุลินทรีย์หอมดับกลิ่น / จุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์หอม  คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

น้ำยาดับกลิ่น / น้ำยากำจัดกลิ่น ที่ไม่ใช่สารเคมี คลิกที่นี่.. 

ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม  คลิกที่นี่.. 

การบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่นในบ่อเกรอะ  คลิกที่นี่...

วิธีการลดค่า BOD,SS,TDS ในเบื้องต้นแบบง่ายๆ คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงหมู คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นขยะเหม็น  คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่..

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/ขายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่.. 

em บำบัดน้ำเสีย/  em หอมบำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่..  

em ดับกลิ่น / em หอมดับกลิ่น คลิกที่นี่.. 

em ดับกลิ่นส้วม ดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น คลิกดูที่นี่..  

จุลินทรีย์ดับกลิ่นส้วมดับกลิ่นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่.. 

จุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำ คลิกดูที่นี่...  

วิธีดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/ห้องน้ำมีกลิ่นแรง คลิกที่นี่...

วิธีดับกลิ่นบ่อเกรอะเหม็นบ่อส้วมเหม็น  คลิกดูที่นี่..

จุลินทรีย์ดับกลิ่นบ่อเกรอะ/ดับกลิ่นห้องน้ำ/บำบัดน้ำเสีย คลิกที่นี่.. 

การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียโดยรวมของระบบบำบัด คลิกที่นี่...  

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...

ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย & ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย  คลิกที่นี่...  

ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่...

ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป คลิกที่นี่...

ค่า BOD และค่า DO มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ? คลิกที่นี่...

ลดค่า  BOD  ทำอย่างไร ?  อยากรู้ คลิกดูที่นี่.... 

 การบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม คลิกดูที่นี่.. 

การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด คลิกที่นี่..

เพิ่มประสิทธิภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ  คลิกที่นี่...   

จุลินทรีย์หอม kasama ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) คลิกที่นี่..

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? คลิกดูข้อมูลที่นี่.... 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีความสำคัญอย่างไร ? อยากรู้คลิกดูข้อมูลที่นี่...