
![]() |
การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย สิ่งที่ต้องบริหารจัดการเป็นประจำในระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนใหญ่ต้องมีผู้ที่ควบคุมดูแลบำรุงรักษา นอกจากไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียเลย ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมสร้างเป็นแบบเติมอากาศลงไปในน้ำเสีย หรือเรียกว่า ระบบ AS ( Activated Sludge ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้ยังแยกย่อยออกไปอีกหลายระบบ แต่จุดที่สำคัญของระบบนี้จะต้องมีการเติมอากาศลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้งาน ในการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้ดีอย่างต่อเนื่องนั้น ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่ง เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียมีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะปัญหาใหญ่คือ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดรวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆในระบบบำบัดน้ำเสีย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ซึ่งจะประกอบไปด้วย บ่อรับน้ำเสียรวม บ่อเติมอากาศ และบ่อตกตะกอนพักน้ำทิ้ง อย่างน้อยระบบบำบัดน้ำเสียต้องมี 3 บ่อขึ้นไป ตามภาพจำลองด้านล่างเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย AS ของอาคารสำนักงานและอาคารชุดทั่วๆไป ตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ตามอาคารชุดคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงานทั่วๆไป จะประกอบไปด้วยบ่อบำบัดน้ำเสียอย่างน้อย 3 บ่อขึ้นไป ในการบริหารจัดการหรือการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดจะต้องปฏิบัติเป็นงานประจำเหมือนกรณีการบริหารงานทั่วๆไป ถ้าขาดการดูแลและบำรุงรักษได้ไม่ดีเมื่อใด ก็จะเกิดปัญหาติดตามมาทันที โดยเฉพาะปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์บางค่าหรือหลายๆค่าพร้อมๆกัน และอาจเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆเป็นประจำ 1 ) ค่า BOD สูง มีผลเสียหรือผลกระทบอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่า BOD สูงมาก แสดงให้ทราบว่าในน้ำเสียมีสารอินทรีย์เจือปนและปนเปื้อนอยู่สูงมาก น้ำจะเน่าเสียได้รวดเร็ว และจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ทันกับของเสียที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำเสียลดลงอย่างต่อเนื่อง น้ำจึงเกิดการเน่าเสียมีกลิ่นเหม็นติดตามมา คุณภาพน้ำทิ้งมาตรฐานทั่วๆไปค่า BOD จะอยู่ที่ไม่เกิน 20 mg/l ถ้าค่า BOD ของน้ำเสียมากกว่า 100 mg/l ขึ้นไป น้ำเสียจะเริ่มมีกลิ่นเหม็นเป็นสีดำ 2 ) ค่า DO ต่ำ( ต่ำกว่า 2 mg/l )มีผลกระทบอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าค่า DO หรือค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆต่ำกว่า 2 mg/l เมื่อใด จะเกิดปัญหาขึ้นกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจนทันที ปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ( ขยายตัวหรือขยายเซลล์ไม่ได้ )เพราะไม่สามารถดึงออกซิเจนในน้ำเสียมาใช้งานได้( ออกซิเจนในน้ำเสียมีปริมาณน้อย )ยิ่งถ้าค่า DO เป็นศูนย์( DO = 0 )เมื่อใด เมื่อนั้นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักก็ตายยกบ่อได้ตลอดเวลา ดังนั้น ค่า DO จึงมีความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่ง โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS จึงต้องมีการตรวจสอบค่า DO ของระบบบำบัดน้ำเสียอยู่เป็นประจำ 3 ) ค่า pH สูงมากๆ หรือ ต่ำมากๆ มีผลกระทบอย่างไรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย โดยทั่วไปค่ามาตรฐาน pH ของระบบบำบัดน้ำเสียจะอยู่ประมาณ 5 - 9 ไม่ควรต่ำกว่านี้หรือสูงกว่านี้ เพราะจะไปกระทบการการดำรงชีพของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดได้ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเจริญเติบโตและขยายตัวได้ดีในช่วงค่า pH 5 - 9 ถ้าค่า pH ต่ำมากๆ หรือ สูงมากๆจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในระบบบำบัดทันที กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ ซึ่งสามารถสังเกตในเบื้องต้นได้จากกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียในบ่อบำบัดและสีน้ำเสียจะมีสีดำ สิ่งที่พึงปฏิบัติเป็นงานประจำในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียมีดังต่อไปนี้ .- 1. เช็คค่า BOD ในทุกๆวันด้วยเครื่องดิจิตัล BOD Meter ซึ่งจะทำให้เราทราบค่า BOD ในเบื้องต้นทันที ทำไมต้องเช็คค่า BOD ทุกวัน? จะทำให้เรารู้ว่าคุณภาพน้ำเสียเป็นอย่างไร ถ้า BOD สูงมาก แสดงให้รู้ว่าน้ำเสียมีสารอินทรีย์เจือปนมาก และต้องทำการแก้ไขปัญหาทันที ก่อนที่น้ำจะเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในส่วนของ BOD ไม่ผ่านเกณฑ์ BOD ทำให้รู้ถึงความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสียได้หลายอย่าง เช็คค่า BOD ในบ่อพักน้ำทิ้งบ่อสุดท้าย และในบ่อเติมอากาศ ( 2 จุด )หรือจะวัดค่าทุกๆบ่อก็ได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบก่อนหลังบำบัด จะเป็นข้อมูลประกอบได้ดี 2. เช็คค่า DO หรือปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ค่า DO มีความหมายอะไรกับระบบบำบัด ? เนื่องจากระบบบำบัดแบบ AS จะใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นหลัก และจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน( Aerobic Bacteria ) ดังนั้น ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลยหรือมีออกซิเจนน้อย จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้ เจริญเติบโตและขยายตัวไม่ได้ เพราะขาดออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ค่า DO จึงมีความหมายและมีความสำคัญอย่างมากในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS การเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำจะทำให้เรารู้ถึงความเป้นไปของระบบบำบัดน้ำเสียของเรา ถ้าเกิดปัญหาค่าออกซิเจนต่ำลงในบ่อเติมอากาศ เราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ก่อนที่น้ำเสียจะเกิดวิกฤต นี่คือความสำคัญของการเช็คค่า DO สามารถใช้ Digital DO Merter ได้ทันที ทราบผลในเบื้องต้นทันที ให้เช็คค่า DO ในบ่อเติมอากาศ ค่า DO ต้อง >= 2 mg/l ขึ้นไป 3. เช็คค่า pH เกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งโดยทั่วไปค่า pH จะอยู่ที่ 5-9 ถ้าค่า pH ต่ำกว่านี้มากๆ หรือสูงกว่านี้มากๆ จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนทันที ถ้าค่า pH ต่ำมากๆ หรือสูงมากๆ จะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน )ตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ให้เช็คค่า pH ในบ่อเติมอากาศเป็นหลัก หรือจะเช็คทุกๆบ่อบำบัดก็สามารถทำได้ไม่เสียหายใดๆ ควรตรวจเช็คในทุกๆวัน โดยทั่วๆไปควรเช็คทั้ง 3 ค่านี้เป็นประจำทุกๆวัน เพื่อติดตามผลความเป็นไปของระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ส่วนใหญ่จะละเลยในจุดนี้ ทำให้ผลติดตามมาคือ ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ถูกปรับจากทางราชการ ต้องเสียค่าใช้จ่ายแก้ไขระบบเพิ่มมากขึ้น การเช็คค่าทั้ง 3 ค่าที่กล่าวมาของระบบบำบัดน้ำเสียเปรียบเสมือนการเช็คสุขภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของเรานั่นเอง ซึ่งจะทำให้เรารู้ถึงปัญหาและความเป็นไปของระบบบำบัดและแก้ไขปัญหาได้ทันเวลาเมื่อเกิดปัญหาค่าใดค่าหนึ่งผิดปกติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด การเตรียมการและระมัดระวังการเกิดปัญหาขึ้นในภายหลังจะดีกว่าต้องมาแก้ปัญหาในภายหลัง จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย( บำบัดน้ำเสีย )ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน และยังมีคุณสมบัติในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )ไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิดที่กลิ่นนั้นๆเกิดจากสารอินทรีย์เราได้พัฒนาให้จุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีกลิ่นหอม เพื่อประโยชน์นำไปใช้งานบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แก้ปัญหาระบบบำบัดหรือบ่อบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย หรือกรณีระบบบำบัดมีปัญหาล้มเหลวบ่อยๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเป็นบางค่าหรือหลายๆค่า เป็นต้น ที่นี่เราจะช่วยลูกค้าในการแก้ปัญหาด้วยการให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆ กับลูกค้าของเราทุกๆท่าน ทั้งปัญหาทางเทคนิคในระบบบำบัด และปัญหาการบำบัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์แก้อย่างไร? และแก้ตรงจุดไหน? ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถต้านทานภาวะวิกฤตในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ดี ถึงแม้ค่า pH จะต่ำกว่า 5 หรือสูงกว่า 9 ขึ้นไปก็สามารถต้านทานได้ดี ค่า DO = 0 ก็สามารถอยู่ได้ตามปกติ เพราะเป็นจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย ค่า DO และค่า pH จะไม่มีผลกระทบใดๆต่อการทำปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่าโดยตรง( เจ้าของโดยตรง ) จำหน่ายมามากกว่า 10 ปี มีลูกค้าประจำกระจายอยู่ทั่วประเทศ โปรดระวังของลอกเลียนแบบของเรา จุลินทรีย์หอมต้อง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 1,200 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร ( บรรจุจริง 21.50 ลิตร ) จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถึงผู้รับภายใน 2-4 วันทำการขนส่ง( ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกล )
ดูแต่ละหัวข้อ กรุณาคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
|