
![]() |
บำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลา การบำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม คุณภาพน้ำ คือ หัวใจของการเลี้ยงปลา ในการบำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาทั่วๆไป จะเน้นไปที่การกำจัดของเสียบางชนิดออกจากน้ำในตู้เลี้ยงปลา ซึ่งของเสียส่วนใหญ่ในตู้เลี้ยงปลาจะมาจากการให้อาหารปลา ขี้ปลา เศษของเสียที่ปลาขับออกมาจากเหงือกปลา เศษพืชที่อยู่ในตู้เลี้ยงปลา น้ำเสียในตู้ปลาจะแตกต่างไปจากน้ำเสียตามบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีของเสียปนเปื้อนในน้ำหลากหลายชนิด แต่น้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาจะมีของเสียไม่กี่อย่างที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลา ในการบำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาจะทำได้ง่ายกว่าน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป ที่มาของเสียในตู้เลี้ยงปลา ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ของเสียที่ทำให้เกิดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลามีไม่กี่อย่าง เช่น อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ขี้ปลา เศษพืชในตู้เลี้ยงปลา เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมาสามารถทำให้เกิดน้ำเสียขึ้นได้ตลอดเวลา อาหารปลาส่วนใหญ่จะมีสารโปรตีน( กรดอะมีโน )ซึ่งเป็นสารอินทรีย์และจะแตกตัวกลายไปเป็นไนโตรเจนและแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำทุกชนิด ถ้าสารเหล่านี้มีความเข้มข้นสูงๆ น้ำในตู้ปลาจะเป็นพิษต่อปลา ปลาสวยงามตายยกตู้เลี้ยงปลาได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้สารดังกล่าวยังส่งผลทำให้ค่าออกซิเจนในน้ำตู้ปลาลดลงอีกด้วย( ค่า DO )ทำให้ปลาลอยขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เพราะออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำต่ำ ปลาไม่สามารถดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ได้เต็มที่ ในส่วนของขี้ปลาและเศษพืช ก็สามารถทำให้น้ำเสียได้เช่นกัน ของเสียจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่กล่าวมา สำหรับการบำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาสวยงาม หลักการบำบัดก็มีรูปแบบคล้ายๆกับการบำบัดน้ำเสียทั่วๆไป เพราะจุดประสงต์ของการบำบัดน้ำเสีย ก็เพื่อต้องการกำจัดของเสียออกจากน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อให้น้ำเสียกลายไปเป็นน้ำดีไม่มีสิ่งสกปรกหรือของเสียปนเปื้อนนั่นเอง ท่านรู้หรือไม่ทำไมจึงต้องเติมอากาศออกซิเจนลงในตู้เลี้ยงปลา? วัตถุประสงค์ของการเติมออกซิเจนลงในตู้เลี้ยงปลาก็เพื่อ 1. ให้ปลามีออกซิเจนเพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตและการเจริญเติบโต เพราะปลาเป้นสัตว์น้ำที่ต้องใช้ออกซิเจนในการดำเนินชีวิตอยู่ตลอดเวลา ขาดออกซิเจนเมื่อใดก็คือตายสถานเดียวเหมือนสัตว์ทั่วไป 2. เพื่อบำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลา กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติแทบทุกๆแห่ง ไม่มีเว้นแม้ในตู้เลี้ยงปลา จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะดึงออกซิเจนมาใช้บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในตู้เลี้ยงปลา ) ดังนั้น น้ำในตู้เลี้ยงปลาต้องมีปริมาณออกซิเจนที่มากพอสมควร หยุดเติมออกซิเจนไม่ได้ ปลาจะน๊อคได้ง่ายๆ เพราะในน้ำในตู้เลี้ยงปลา ปลาก็ต้องใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในธรรมชาติที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาก็ต้องใช้ออกซิเจนเช่นกัน ดังนั้น ต้องเติมออกซิเจนที่มากพอและเหมาะกับการใช้งานของปลาและจุลินทรีย์ในตู้เลี้ยงปลา น้ำเสีย คือ น้ำที่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยกว่า 2 mg/l ( ค่า DO < 2 mg/l )ตัวการที่ส่งผลให้น้ำเสียส่วนใหญ่จะเป็นพวกสารอินทรีย์ทั่วๆไป( สารที่มาจากพืชและสัตว์ ) น้ำในตู้เลี้ยงปลาควรมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ( ค่า DO ) ไม่น้อยกว่า 3 mg/l ขึ้นไป เพราะทั้งปลาและจุลินทรีย์ในน้ำต้องดึงออกซิเจนไปใช้งานตลอดเวลา บางท่านอาจทราบดีอยู่แล้วว่า การเติมออกซิเจนลงในน้ำในตู้เลี้ยงปลาก็คือการบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่ง ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย )ในน้ำในตู้เลี้ยงปลาจะดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำไปใช้งานบำบัดน้ำเสียโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้( เพราะจุลินทรีย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า )จุลินทรีย์กลุ่มนี้มันจะเข้าไปย่อยสลายเศษอาหารปลา ขี้ปลา และเศษพืชที่อยู่ในตู้เลี้ยงปลาให้มีขนาดเล็กลง แต่ปัญหาก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ ไม่สามารถกำจัดแอมโมเนีย ไนโตรเจน ไนเตรท ไนไตรท์ ได้ ปัญหาอยู่ในจุดนี้ นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกจึงได้ทำการวิจัยกรรมวิธีกำจัดสารเหล่านี้ จึงพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถกำจัดสารแอมโมเนียและไนโตรเจน ไนเตรท ไนไตรท์ ได้ทั้งหมดก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง( Nitriflying Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์คือ จุลินทรีย์ไนโตรแบคเตอร์( Nitrobacter Bacteria ) และจุลินทรีย์ไนโตรโซโมแนส ( Nitrosomonas Bacteria ) ซึ่งมีกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นดินในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ผลการวิเคราะห์และทดสอบรวมถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายๆครั้ง จึงสรุปออกมาที่จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งเป็นตัวกำจัดหรือทำลายแอมโมเนีย ไนโตรเจน ไนเตรทและไนไตรท์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส( Kasama Plus ) เป็นจุลินทรีย์ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง 2 สายพันธุ์นำมารวมไว้ในที่เดียวกัน คือ จุลินทรีย์ไนโตรแบคเตอร์ และ จุลินทรีย์ไนโตรโซโมแนส จะอยู่ในจุลินทรีย์คาซาม่าพลัสทั้งหมด - บำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลา ใช้จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส - กำจัดของเสียในตู้เลี้ยงปลา ใช้จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส - กำจัดแอมโมเนียในตู้เลี้ยงปลา ใช้จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส - กำจัดไนไตรท์ในตู้เลี้ยงปลา ใช้จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส - กำจัดไนเตรทในตู้เลี้ยงปลา ใช้จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส ถ้าความเข้มข้นของแอมโมเนียในตู้เลี้ยงปลาสูงตั้งแต่ 1 ppm. หรือ 1 mg/l ขึ้นไป ปลาที่เลี้ยงในคู้เลี้ยงปลาอาจตายได้ทุกเมื่อ ค่าแอมโมเนียในตู้เลี้ยงปลาไม่ควรเกิน 0.02 ppm. หรือ 0.02 mg/l ( มิลลิกรัม ต่อ ลิตร ) กระบวนการแปรเปลี่ยนสภาพของไนโตรเจน( ที่มาจากสารอินทรีย์กรดอะมีโนและโปรตีนในอาหารปลาและขี้ปลา )ของเสียที่เกิดขึ้นในตู้เลี้ยงปลา จากการแปรสภาพเมื่ออยู่ในน้ำในตู้เลี้ยงปลา ทั้งอาหารปลาและขี้ปลาจะถูกแปรสภาพไปเป็นไนโตรเจน แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตร์ และไนตรัสออกไซด์ ตามลำดับ สารพิษจึงเกิดขึ้นในตู้เลี้ยงปลาในจุดนี้นี่เอง การทำปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง( Nitriflying Reaction ) จากภาพจำลองบนเป็นปฏิกิริยาการแปรสภาพแอมโมเนียมอิออน ไปเป็นไนไตรท์อิออนและไนเตรทอิออน( Nitrifacation Reaction ) และปฏิกิริยาการแปรสภาพไนเตรทอิออนไปเป็นไนไตรท์อิออน ไนตรัสออกไซด์ จนกลายไปเป็นก๊าซไนโตรเจนสลายตัวลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศต่อไป( Denitrification Reaction ) ร้านบางกอกโปรดักส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์คาซาม่าพลัส( ไม่ใช่นำเข้าจากต่างประเทศ )จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในตู้เลี้ยงปลาสวยงามทุกๆชนิด เราจะทำเรื่องยากๆ( กำจัดแอมโมเนีย )ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ( นำเข้าจากต่างประเทศจำหน่ายซีซีละ 30 - 50 บาท หรือลิตรละ 30,000 - 50,000 บาท )เราจะให้คนไทยได้ใช้ของถูกและดีเหมือนต่างประเทศ ความเข้มข้นและความหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์คาซาม่าพลัสของเราจะมากกว่าปกติทั่วไป เพราะเราเลี้ยงเพาะเชื้อแบบพิเศษที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนใช้เวลานานมากกว่าปกติทั่วไป โปรดระวังการแอบอ้างหรืออุปโลกน์อีเอ็ม( ต้นฉบับจากญี่ปุ่น )ไปเป็นจุลินทรีย์ไนคริฟลายอิ้ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะในอีเอ็มที่มาจากญี่ปุ่นจะไม่มีจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งแม้แต่สายพันธุ์เดียว ร้านบางกอกโปรดักส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์คาซาม่าพลัสโดยตรง( คนละตัวกับจุลินทรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียและดับกลิ่น )ไม่ใช่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศของจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งจะมีราคาค่อนข้างสูง( ซีซีละ 30 - 50 บาท หรือ ลิตรละ 30,000 - 50,000 บาท )เราได้ทำการสังเคราะห์ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ได้จุลินทรีย์ที่มีความหนาแน่นและแอคทีฟสูง เราจะทำให้คนไทยได้ใช้ของถูกและดีมีประสิทธิภาพสูง จุลินทรีย์คาซาม่าพลัส ราคา ราคาจำหน่าย แกลลอนละ 2,000 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนละ 20 ลิตร( มีขนาดเดียวเท่านั้น ) เปิดจำหน่ายตั้งแต่ ม.ค. 2566 เป็นต้นไป เปิดรับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ได้รับสินค้าภายใน 2-5 วันทำการขนส่ง ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้หรือไกล โปรดระวังการแอบอ้างอุปโลกน์เอาอีเอ็ม( EM )ที่มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น มาอุปโลกน์เป็นจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง ในอีเอ็มที่มาจากญี่ปุ่นโดยตรงจะไม่มีจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้ง แต่เป็นจุลินทรีย์ไนโตรฟิกซิ่ง( จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน )ไม่เหมาะสมในการนำไปใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้งและบ่อเลี้ยงปลา เพราะมันจะไปเพิ่มไนโตรเจนในน้ำ ซึ่งเท่ากับเพิ่มแอมโมเนียโดยอัตโนมัติ |